Explorer of Life

Saturday, October 29, 2011

Francesco Clemente

อ่านเจอเรื่องของจิตกรอิตาเลียนอเมริกันคนนี้โดยบังเอิญ ชอบคำบรรยายเรื่องสไตล์ของเค้า -- ที่เปลี่ยนแปลงไปตามความเป็น 'อัตตา' ของตัว ที่ถดถอย และขยายวงกว้างขึ้นไปตามกาล -- เหมือนกับบันทึกความเปลี่ยนแปลงและการอยู่รอดของทัศนะศิลป์ในยุควัตถุนิยมในปัจจุบัน

ภาพประกอบทำแบบวาฮอล ไม่เกี่ยวกับคนนี้ ฮ่าๆๆ

Just came across his name and looked him up on wikipedia.  Learned that he's an Italian-American contemporary artist who's influenced
by thinkers as diverse as Gregory Bateson, William Blake, Allen Ginsberg, and J Krishnamurt.  I like this writeup about him but pair it with my Warhol-esqe rendition of my coffee cup here (Aside - I'm fascinated by coffee cups and one of these days I'd make a collection of it.).

Anyway, so here it goes...

" ...the art of Francesco Clemente is inclusive and nomadic, crossing many borders, intellectual and geographical... he has adopted for his paintings a vast variety of supports and mediums, exploring, discarding, and returning to oil paint, watercolor, pastel, and printmaking. His work develops in a non linear mode, expanding and contracting in a fragmentary way, not defined by a style, but rather by his recording of the fluctuations of the self, as he experiences it. The goal is to embrace an expanded consciousness, and to witness, playfully and ironically, the survival of the ecstatic experience in a materialistic society..."


More about Francesco Clemente here: http://en.wikipedia.org/wiki/Francesco_Clemente

Friday, October 28, 2011

2011 World Series - First Game 7 in 9 Years

Texas Rangers and St. Louis Cardinal -- Drama continues after miraculous game last night - Game 6 in St. Louis.

กีฬาแต่ละประเภทมีดราม่าของตัวเอง สิ่งที่ชอบที่สุดในกีฬาคือ เรื่องราวของการต่อสู้ของนักกีฬา โดยเฉพาะเรื่องราวของเบี้ยล่าง ของอันเดอร์ด้อก และความสามารถของ "มนุษย์" ที่สามารถต่อสู้แม้ว่าความหวังบนหนทางแห่งชัยชนะจะริบหรี่แค่ไหน -- การแข่งขันเวิร์ลดซีรี่ส์หรือแชมเปี้ยนชิพแม็ชของเบสบอล ผู้ชนะจะต้องชนะ 4 ใน 7 แม็ช

ก่อนการแข่งขันเกมหก เมื่อคืนนี้ เท็กซัสเรนเจอร์สเป็นตัวเก็ง เพราะนำไปแล้ว 3-2 และทุกคนคิดว่าเมื่อคืนนี้จะเป็นเกมสุดท้ายที่ทำให้ เรนเจอร์สได้เป็นแชมป์เวิร์ลซี่รี่ส์เป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี (ทีมก่อตั้งเมื่อปี 1961) แต่ปรากฏว่า เซนต์หลุยส์ คาร์ดินัล หนึ่งในทีมที่สถิติดีน้อยที่สุดในลีคที่ไม่มีใครคิดว่าจะมาถึงจุดนี้ กลับพลิกผันเกมอย่างที่ไม่มีใครคาดคิด -- ในรอบ 9 ปีที่ผ่านมา ยังไม่มีแม็ชไหนแข่งกันถึงเกม 7 จึงทำให้เกมในวันนี้มีความสุดยอดในตัวของมันเองมากๆ

ความมหัศจรรย์เกิดขึ้นได้ เพียงขอให้ใจสู้เท่านั้น



Whether or not you're are a baseball fan, you've got to love the drama and the display of miraculous human ability to PERSEVERE and to NEVER GIVE UP even when all the odds are against you and possibility of victory is bleak... The unfolded drama epitomized Yogi Berra's famous quote: "It ain't over till it's over!!!."

Last night, in the bottom of the 9th inning, Rangers were leading 7-5 and the long-awaited World Series Championship was just 1 strike away!!!! ...

Here's my favorite sports photographer Brad Mangin's impression of the moment  (http://manginphotography.net/2011/10/2011-world-series-game-6):

"By the time we got to the bottom of the 9th inning with the Rangers up 7-5 I really thought the Rangers would be celebrating their first World Series championship on the field within moments. Two out. David Freese the batter. Neftali Feliz on the mound. TWO STRIKES! I was focusing my camera on Rangers catcher Mike Napoli [who played on despite a nasty-looking ankle twist]
. I figured he would be the MVP and I wanted to get him jumping in the air and celebrating..."


Texas Rangers' Mike Napoli(notes) reacts after turning his ankle at second during the fourth inning of Game 6 of baseball's World Series against the St. Louis Cardinals Thursday, Oct. 27, 2011, in St. Louis. (picture from Yahoo sports).

Picture from: http://www.star-telegram.com

Then this local kid David Freese hit a deep drive to the right field -- and hampered the Rangers' dream and enabled the Cardinals to stay alive.  The game went to extra innings -- and I could not believe my eyes when it was David Freese who hit a walk-off home run in the 11th inning.

THIS GOT TO BE ONE OF THE BIGGEST COMEBACK OF WORLD SERIES HISTORY.  WELL, WHAT CAN I SAY -- I JUST LOVE STORIES OF UNDERDOGS AND UNLIKELY HEROES.

David Freese hits an 11th inning walk-off home run to win Game Six of the 2011 World Series against the Texas Rangers at Busch Stadium on Thursday, October 27, 2011 in St. Louis, Missouri. The Cardinals defeated the Rangers 10-9. (Photo by Brad Mangin/MLB Photos)




As the camera panned around the stadium, the drama also unfolded in the the losers as well -- especially that played in the face of Nolan Ryan's (one of the greatest pitchers of all times and now Rangers owner).

Picture from: http://www.star-telegram.com

This is also another great story of this year's game.  Josh Hamilton made a comeback after a long battle with addiction.  He hit his first post-season home run last night.


Josh Hamilton of the Texas Rangers in the dugout after he hit a 2 RBI homerun in the top of the tenth to put the Rangers ahead 9-7 during Game Six of the 2011 World Series between the Texas Rangers and the St. Louis Cardinals at Busch Stadium on Thursday, October 27, 2011 in St. Louis, Missouri. (Photo by Brad Mangin/MLB Photos)


Another great story of the game is Nelson Cruz -- with his performance and great play.

On October 27, 2011, Cruz hit a solo home run to put the Texas Rangers up 6 to 4 against the St. Louis Cardinals in Game 6 of the 2011 World Series.  The home run allowed Cruz to tie the record for most postseason home runs in a season at 8; he shares the achievement with Carlos Beltran and Barry Bonds.


Whatever the outcome of Game 7 -- It will be another page in the history of baseball.






Thursday, October 27, 2011

Bangkok Flood Donation Information

I put this information on Facebook and would like to share again here to help spread the word.

BANGKOK!!! When it rains, it POURS!!

The worst is yet to come.


If you would like to help, here's how:

http://www.bangkokpost.com/feature/charities/203275/information-for-flood-donation

The best channel is the The Thai Red Cross.

Thank you.



photo: BBC World News in Pictures.

โชคชะตาหรือว่าความบังเอิญ - Destiny or Coincidence?


Strangers passing each other at intersections of space-time continuum...
Some call it “chance”, others, “destiny”.
ผู้คนแปลกหน้า สวนกัน ณ ห้วงหนึ่งของเวลา...
บางคนเรียกมันว่า “โชคชะตา” บ้างก็ว่า “ความบังเอิญ”

from People, Places, Faces Album

มันแปลกดีนะ เคยเป็นมั้ย เวลาเรานึกอะไร เห็นหรือรู้คำหรือเรื่องใหม่ๆ ที่ไม่รู้จัก หรือคุยกับใครเรื่องใดเรื่องนึง แล้วจู่ๆ ก็มีอันคอยจะให้เห็นเรื่องๆ นั้น หรือคำๆ นั้นขึ้นมาบ่อยๆ ทีเดียว สองสามวันนี้คุยเรื่อง “หน้าคน” ก็พาให้เห็นอะไรต่อมิอะไรที่เกี่ยวกับหน้าไปหมด

หาอะไรอ่านไปมาเลยพบว่าปรากฏการณ์แบบนี้มีชื่อเรียกด้วยนะ เออ (ไม่น่าเชื่อ และดีใจสุดๆ ที่ได้อ่าน เพราะตัวเองเป็นบ่อยมากกก)

ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “The Baader-Meinhof Phenomenon” หรือ “ปรากฏการณ์บาเดอร์-ไมน์ฮอฟ” ตามเวปไซท์นี้ http://www.damninteresting.com/the-baader-meinhof-phenomenon เค้าบอกว่าสมองของคนเราชอบอะไรที่เป็นแพทเทิร์น และมักจะสามารถจับแพทเทิร์นที่น่าสนใจของสิ่งเร้าที่ผ่านเข้ามาในการรับรู้ของเรา และลืมแพทเทิร์นที่ไม่น่าสนใจ (เรียกว่า Selective Attention) ตัวอย่างเหมือนที่เล่าข้างบน หรืออีกอย่างนึงคือ เวลาที่เรานึกถึงใครอยู่แล้วเค้าก็โผล่ หรือโทรฯมาน่ะ

ปรากฏการณ์นี้จะคล้ายๆ กับทฤษฎีเรื่องความบังเิอิญที่ไม่มีความเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน หรือ ซิงโครนิซิตี้ (Synchronicity)  ของ คาร์ล จุง (นักจิตวิทยาชื่อก้องโลกชาวสวิส) โดยพยายามอธิบายความเกี่ยวเนื่องของเหตุการณ์ใดๆ ที่เกิดขึ้นว่านอกจากจะรวมกลุ่มเหตุการณ์เหล่านั้นด้วยความเป็นเหตุเป็นผล (causality) ต่อกันและกันแล้ว ก็ยังสามารถจัดกลุ่มเหตุการณ์เหล่านั้นได้ด้วยความหมายของเหตุการณ์ด้วย (คือหลัก synchronicity นั่นเอง) – ทฤษฎีนี้มีการนำไปเกี่ยวโยงกับ ทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Relativity Theory) ของไอน์สไตน์ และ ทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม (Quantum Mechanics) ของ โวล์ฟกัง เอิร์นส์ เพาลี (Wolfgang Ernst Pauli) ด้วย (เข้าใจเลาๆ ว่า อย่างการอธิบายความบังเอิญนี้ด้วย แนวคิดเรื่อง เอกภพคู่ขนาน หรือ parallel universe เป็นต้น) – ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Synchronicity

นอกจากนี้ คำศัพท์ ที่เกี่ยวกับเรื่องความบังเอิญนี้ก็ยังมีอีก  อย่างคำว่า

อะโพฟีเนีย (Apophenia) หรือการเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูล หรือตัวเลข หรือ สัญญลักษณ์ อย่างเช่น ความเชื่อเรื่องนอสตราดามุส หรือการตีความหมายของโค้ดจากไบเิบิ้ล เป็นต้น – http://www.reference.com/browse/Apophenia

เดชาวู หรือ เดจา วู (Déjà vu) แปลว่า เคยได้พบเห็นมาแล้ว มีที่มาจากนักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศส เอมีล บัวรัค(Emile Boirac - 1851–1917) ในหนังสือ L'Avenir des sciences psychiques (อนาคตของวิทยาศาสตร์จิตวิทยา)  อาการเดจาวูคือรู้สึกว่าเหตุการณ์นั้นเคยพบมาแล้ว ทั้งๆที่เพิ่งพบครั้งแรก โดยเราอาจจะคิดว่าเราเพ้อฝันไป  มีการอธิบายว่า เดชาวู เป็นประสบการณ์ทางจิต ที่เกิดได้กับทุกคน และทุกเวลา อาจเป็นอดีตชาติ อาจเป็นโลกคู่ขนาน อาจเป็นพลังจิต หรืออาจเป็นแค่ภาพลวงตาทางสมอง (ที่มา http://www.baanmaha.com/community/thread36616.html)



Have you ever had this experience where you just heard, seen, or thought about some words, phrases, concept and then all of a sudden, those words, phrases or concepts just pop up everywhere right afterwards?  I experience that a lot -- so much so that it feels more than a mere coincidence and most often I merely think of that experience a a "hunch".  But apparently, this phenomenon has a name. Ta da!!! Weird, ha?

According to
Alan Bellows of www.damninteresting.com, the phenomenon is called The Baader-Meinhof Phenomenon.  And here's his explanation:

"And you may have heard about it before. In fact, you probably learned about it for the first time very recently. If not, then you just might hear about it again very soon. Baader-Meinhof is the phenomenon where one happens upon some obscure piece of information– often an unfamiliar word or name– and soon afterwards encounters the same subject again, often repeatedly.

Anytime the phrase “That’s so weird, I just heard about that the other day” would be appropriate, the utterer is hip-deep in Baader-Meinhof.Most people seem to have experienced the phenomenon at least a few times in their lives, and many people encounter it with such regularity that they anticipate it upon the introduction of new information. But what is the underlying cause? Is there some hidden meaning behind Baader-Meinhof events?The phenomenon bears some similarity to synchronicity, which is the experience of having a highly meaningful coincidence… such as having someone telephone you while you are thinking about them.

Both phenomena invoke a feeling of mild surprise, and cause one to ponder the odds of such an intersection. Both smack of destiny, as though the events were supposed to occur in just that arrangement… as though we’re witnessing yet another domino tip over in a chain of dominoes beyond our reckoning.

Despite science’s cries that a world as complex as ours invites frequent coincidences, observation tells us that such an explanation is inadequate. Observation shows us that Baader-Meinhof strikes with blurring accuracy, and too frequently to be explained away so easily. But over the centuries, observation has also shown us that observation itself is highly flawed, and not to be trusted. The reason for this is our brains’ prejudice towards patterns.

Our brains are fantastic pattern recognition engines, a characteristic which is highly useful for learning, but it does cause the brain to lend excessive importance to unremarkable events. Considering how many words, names, and ideas a person is exposed to in any given day, it is unsurprising that we sometimes encounter the same information again within a short time. When that occasional intersection occurs, the brain promotes the information because the two instances make up the beginnings of a sequence.

What we fail to notice is the hundreds or thousands of pieces of information which aren’t repeated, because they do not conform to an interesting pattern. This tendency to ignore the “uninteresting” data is an example of selective attention.In point of fact, coincidences themselves are usually just an artifact of perception. We humans tend to underestimate the probability of coinciding events, so our expectations are at odds with reality. And non-coincidental events do not grab our attention with anywhere near the same intensity, because coincidences are patterns, and the brain actually stimulates us for successfully detecting patterns… hence their inflated value. In short, patterns are habit-forming.

But when we hear a word or name which we just learned the previous day, it often feels like more than a mere coincidence. This is because Baader-Meinhof is amplified by the recency effect, a cognitive bias that inflates the importance of recent stimuli or observations. This increases the chances of being more aware of the subject when we encounter it again in the near future. How the phenomenon came to be known as “Baader-Meinhof” is uncertain.

It seems likely that some individual learned of the existence of the historic German urban guerrilla group which went by that name, and then heard the name again soon afterwards. This plucky wordsmith may then have named the phenomenon after the very subject which triggered it. But it is certainly a mouthful; a shorter name might have more hope of penetrating the lexicon. However it came to be known by such a name, it is clear that Baader-Meinhof is yet another charming fantasy whose magic is diluted by stick-in-the-mud science and its sinister cohort: facts.

But if you’ve never heard of the phenomenon before, be sure to watch for it in the next few days… brain stimulation is nice."


Related topics:

Synchronicity

Synchronicity – The Skeptic’s Dictionary – Skepdic.com

Déjà vu

Apophenia

Coincidences: Remarkable or Random?

Whats Wrong with the I Ching? Ambiguity, Obscurity, and Synchronicity



Tuesday, October 18, 2011

I Know Who Has A Pre-production Canon 5D Mark III


ขำ น่ารักดี จริงป่าวไม่รู้ :))


Sunday, October 16, 2011

คนอะไรสวยตลอดปี - An Enigmatic Smile

เมื่อคืนเดินผ่านตู้โชว์ร้านนึงที่เค้าโชว์ภาพของมาริลีน มอนโร ในกระจก คิดดูว่าเิดินผ่านไปแล้วยังต้องเดินย้อนกลับมาดูอีก แล้วก็ต้องมนต์ ยืนดูอยู่นานนนนมาก บอกไม่ถูกว่าทำไม

พอกลับมาค้นก็เจอโพสต์ของคุณ hayana วันก่อนเรื่อง "100 บุคคลที่เป็นไอค่อนตลอดกาล"    ดูตอนแรกนึกว่ารูปเดียวกัน แต่ทำไมรู้สึกไม่เหมือนกัน พอค้นในเน็ทก็พบว่า ภาพนี้มีหลายเวอร์ชั่น จาก "Ballerina Series" ถ่ายโดย Milton H. Greene

ภาพที่เห็นกันอยู่บ่อยๆ เป็นภาพที่มาริลีนยิ้มอย่างสนุกสนาน แต่กลับเป็นเรื่องราวในใบหน้า แววตาและท่าทางของภาพนี้ต่างหากที่ตราตรึงใจและทำให้อยากค้นหาซะเหลือเกิน

Monday, October 3, 2011

น้ำท่วมกรุงเทพ ปี 2485 (Bangkok floods in 1942)

สุดยอดมากๆ เลยค่ะ คุณแท้ เธอสุดยอดจริงๆ
นี่คือยุคแรกของ youtube อย่างแน่แท้

ดูแล้วรู้สึกขนลุกและชอบมากๆ เพราะไม่เคยเห็นอะไรที่เป็นแบบ home movie แบบนี้เกี่ยวกับประเทศไทย คือแบบไม่มีเสียงคนพากษ์ที่เป็นทางการเกิ๊น แล้วมีทำเสียงหล่อตลอดน่ะค่ะ


Sunday, October 2, 2011

เรื่อง ‘แมว แมว’

ทั้งฝรั่งและไทยมีชื่อเรียกเป็นพิเศษสำหรับแมวแต่ละสี ซึ่งเป็นเรื่องที่สงสัยมานานมากและพอจะรู้เลาๆ แต่ก็ไม่ถ่องแท้ซะที วันนี้ลงมือหาข้อมูลดีกว่า

ก่อนอื่นค้นพบว่า สีของขนแมวนั้นเกิดจากการกลายพันธุ์ของโครโมโซม และถือว่าเป็น mutation ชนิดหนึ่ง แต่ทั้งนี้มันมีแพทเทิร์นของการกลายพันธุ์และสามารถจัดเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ ในที่นี้จะนำมาเล่าคร่าวๆ ตามความเข้าใจละกันนะคะ (ไม่ได้มีความรู้เรื่องแมวมากนัก) เท่าที่อ่านดูจากหลายเว็บไซท์ ถ้าแบ่งตามพันธุ์ แมวแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ แบบขนสั้น หรือ อบิสซิเนียน กับพวกขนยาว และในสองพันธุ์ใหญ่ๆ นี้ สามารถมีสีได้ตามกลุ่มที่จะพูดถึงนี้ได้ทั้งสองพันธุ์


เิริ่มที่แมวไทย (Siamese Cat) ก่อนดีกว่า
Photobucket

ลักษณะสีแบบแมวไทยที่เห็นนี่ ฝรั่งเรียก seal point (ซีลพ้อยท์) ตามตำนานแมวไทยโบราณน่าจะเป็น “แมววิเชียรมาศ” เรื่องลักษณะของแมวไทยนี่ ลืมไปนานแล้ว แต่เอามารื้อฟื้นความจำเป็นสิ่งที่ดีมาก “เมื่อปี พ.ศ. 2427 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานแมววิเชียรมาศคู่หนึ่งให้แก่ กงสุลอังกฤษชื่อนาย โอเวน กูลด์ (Owen Gould) แมวไทยคู่นี้ชนะการประกวดแมวที่ กรุงลอนดอน และทำให้ชาวอังกฤษนิยมเลี้ยงแมวไทยมากขึ้น ในที่สุดก็แพร่หลายไปทั่วโลก และแมววิเชียรมาศก็เป็นที่รู้จักในภาษาอังกฤษว่า "Siamese Cat" หรือแมวสยาม นับแต่สมัยกรุงธนบุรีเป็นต้นมา … แมวไทย (วิฬาร) ที่ยังเหลือให้พบเห็นในปัจจุบันนี้มี 6 ชนิดคือ วิเชียรมาศ สีสวาด ศุภลักษณ์ โกญจา ขาวมณี และแซมเสวตร” จาก วิกิพีเดียเรื่อง แมวไทย

Tabby Cat / แท้บบี้แคท แมวสองสี

Photobucket

คือพวกลายๆ แบบเสือ และจะมีลายเป็นตัว M อยู่ตรงหน้าผาก ที่เห็นอยู่บ่อยๆ มีสองแบบ แบบแรกคือ Classic (or 'Blotched') Tabby แบบตัวที่เห็นนี่  ตรงสีข้างมันจะมีลายเป็นวงๆ เรียกว่า bullseye pattern คลาสสิคแท้บบี้นี่ส่วนใหญ่ที่เห็นทั่วไปจะเห็นสองสี คือเทากับสีส้ม แต่ฝรั่งเรียกสีแดง red tabby.




ถ้าเป็นลายเสือ มีลายตัว M ตรงหน้าผากเหมือนกัน แต่ลายตรงสีข้างไม่เป็นวงๆ แต่เป็นลายก้างปลา อย่างตัวโตที่อยู่บนรั้ว จะเรียกว่า Mackerel Tabby / แมคเคอเรล แท้บบี้ หรือลายปลาทู ^^

จริงๆ พวกแท้บบี้นี่มีอีกสองแบบคือ "Ticked"/ ลายขีดๆ กับ "Spot" ลายจุด แต่ไม่เคยเห็นเลย ก็เลยไม่ได้เอามาอธิบายนะคะ

Photobucket

ถ้าแบบที่มีถุงเท้าสีขาวแบบนี้เรียก Mitted (มิทเท็ท)

Photobucket


มาถึงแมวสามสีบ้าง

Photobucket

แบบนี้เรียกว่า Tortoiseshell หรือ tortie (ลายกระ) คือมีสีดำอมส้มและมีสีขาวอยู่ตรงไหนตรงนึง


Photobucket

แบบที่
มีสามสี พื้นขาวเยอะๆ แล้วมีลายๆ สีประเป็นสีดำ กับ เหลืองอมส้ม เรียกว่า Calico / คาลิโค่

Photobucket


ส่วนแบบที่เป็นสีขาว แล้วมีวงสีแต้มๆ อย่างนี้เรียก Harlequin (ฮาร์ลิควิน) สีนี้ไม่จำกัดเฉพาะแมว คิดว่าม้า หรือ หมา สีแบบนี้ก็เรียกอย่างนี้ด้วย ขออภัยที่ภาพเป็นแบบนี้ ถ่ายไว้นานแล้วสมัยจับกล้องใหม่ๆ แล้วเจ้าตัวนี้ขี้อายมากๆๆๆ -- ลักษณะสีของเจ้าตัวนี้คล้ายแมวเก้าแต้มตามตำราไทย แต่คิดว่าสีที่แต้มคงต้องเป็นสีเดียวหรือเปล่าไม่แน่ใจ ข้อมูลในเน็ทไม่ค่อยชัดเจนค่ะ

จริงๆ แล้วชื่อเรียกสีและลายยังมีอีกนะคะ แต่ว่าไม่มีรูปถ่ายและดูจากในเน็ทก็ไม่ชัดเจนว่าสีแบบไหน เอาไว้เจอตัวจริง ได้ถ่ายชัดๆ แล้วจะค้นคว้ามาเล่าให้ฟังต่อค่ะ

แมวนี่ยังถือเป็นสัตว์ที่มีความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารในหลายๆ วัฒนธรรม ตั้งแต่อิยิปต์โบราณมา  อย่างวัฒนธรรมไทยกับชวาก็มีการแห่นางแมวขอฝน ญี่ปุ่นก็มีแมวนางกวัก (maneki neko) ส่วนฝรั่งก็มีความเชื่อเรื่อง แมวเก้าชีวิตเหมือนกัน

แต่ฝรั่งบางคนก็เชื่อโชคลางและคิดว่าแมวดำจะนำโชคร้ายมาให้  ตัวเองเคยมีรูมเมท เค้าเลี้ยงแมวดำชื่อ ปริ้นเซสเชียวนะ เพื่อนบ้านไม่ค่อยชอบหน้าเอาซะเลย โดยเฉพาะเพื่อนบ้านคนนึง ดูท่าทางจะเป็นคนครีโอล (Creole - คือเป็นคนผิวสีที่มีเชื้อสายฝรั่งเศส ส่วนมากจะอยู่แถวหลุยส์เซียน่า หรือไม่ก็คนที่มีเชื้อสายยุโรป หรือสเปน ที่เกิดในแถบหมู่เกาะเวสท์อินดิส หรือ อเมริกาที่เป็นเมืองขึ้นของสเปน)  พอผู้หญิงคนนี้เดินออกจากบ้าน แล้วเจ้าปริ้นเซสเดินผ่านหน้า เค้าวิ่งหนีขึ้นบ้านไปเลย ร้องลั่นบอกว่าวันนี้ออกจากบ้านไม่ได้แล้ว โมโหใหญ่ นอกจากนี้ในวันฮาโลวีน รูมเมทก็ต้องเก็บเจ้าปริ้นเซสไว้ในบ้าน เพราะถ้าไปเพ่นพ่านอาจตายหยั๋งเขียดได้ ซึ่งตรงข้ามกับตำราไทยของเราที่ว่า แมวดำปลอด หรือ นิลรัตน์นั้น เลี้ยงไว้แล้วเชื่อว่าจะมีความเจริญ มีทรัพย์ ปราศจากอันตราย

แหม ตอนจบรู้สึกว่าเข้าบรรยากาศใกล้วันฮาโลวีนพอดี ช่างเหมาะเหม็งอะไรเช่นนี้ สรุป วันนี้ก็หายสงสัยเรื่องนี้ซะที

Source:
- Cat - wikipedia
- Cat Coats Genetics - wikipedia
- Cat Colors FAQs - Common Colors
- แมวไทย - วิกิพีเดีย
- ทำไมต้องใช้แมวแห่ขอฝน