Rating: | ★★★ |
Category: | Books |
Genre: | Biographies & Memoirs |
Author: | Mick Brown |
เมื่อวานไปรอเพื่อน แต่ไม่มีอะไรติดมือไปอ่าน เลยเดินเข้าร้านหนังสือเก่า เห็นเล่มนี้ น่าสนใจ เลยหยิบมา ราคาเหรียญเดียว คุ้มซะยิ่งกว่าคุ้ม ได้อาหารสมองในระหว่างรอ
สำหรับคนที่รู้ประวัติดนตรีป้อปดีคงรู้สึกว่าหนังสือห่วย แต่สำหรับตัวเองชอบฟังเพลงแต่ไม่เคยรู้ว่า ฟิล สเปคเตอร์เป็นใคร แล้วรู้สึกว่าไ้ด้ความรู้ดีมาก ถ้าไม่นับวิธีการนำเสนอแบบ sensationalize (แบบพาดหัวข่าวไทยรัฐหน้าหนึ่ง) และในส่วนใหญ่ผู้เขียนอาจยกเมฆแล้ว (NY Times: From Hitmaker to Defendant, A Long and Winding Road) หนังสืออ่านง่าย สนุกๆ ให้เกร็ดประวัติวงการเพลงป้อบได้ดี และหวังว่าข้อมูลคงเชื่อถือได้ส่วนหนึ่ง (หมายเหตุ: Mick Brown ได้สัมภาษณ์ Spector ในปี 2003 ลงในหนังสือพิมพ์ Telegraph ของอังกฤษ ซึ่งคงเทียบได้กับหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ -- เอ่อ ไม่ได้มีอะไรกับไทยรัฐ เปรียบเทียบแล้วเข้าใจง่ายดี)
ฟิล สเปคเตอร์ มีเพลงฮิตติดอันดับหนึ่งBillboard เพลงแรกเมื่อเขาอายุ 18 ปี "To Know Him is to Love Him" (1958) (ชื่อเพลงที่เอามาจากคำจารึกหินบนหลุมฝังศพของพ่อเขา ซึ่งฆ่าตัวตายไม่นานก่อนหน้านั้น) และกลายเป็นเศรษฐีโดยมีค่ายเพลงเป็นของตัวเองเมื่ออายุ 22 ถ้าจะเทียบกันไปก็คงจะเป็นเจ้าหนูมหัศจรรย์ของยุคนั้น เทียบกับ Bill Gates, Steve Job, Mark Zuckerber (Facebook) หรือ Larry Page กับ Sergey Brin (Google) ในยุคหลังๆ
ในช่วงปี ค.ศ. 1961-1966 เพลงที่ฟิล สเปคเตอร์ เป็นโปรดิวเซอร์ขึ้นอันดับBillboard ถึงยี่สิบกว่าเพลงจาก 40 เพลง จน Tom Wolfe (นักเขียนอเมริกัน นังสือขายดี) ยกเขาให้เป็น "The First Tycoon of Teen"
Phil Spector เป็นเจ้าของบริษัท "Wall of Sound" และเป็นโปรดิวเซอร์และแต่งเพลงดังๆ อย่าง "Be My Baby" (The Ronnettes, 1963), "You've Lost That Lovin' Feelin" (The Righteous Brothers, 1964), "Imagine" (John Lennon, 1971), Ike & Tina Turner, The Beatles, George Harrison - Concert for Bungladesh, My Sweet Lord (George Harrison, 1971), Elvis Presley, Ben E. King ฯลฯ อีกมากมาย -- พออ่านตรงนี้ในคำชี้ชวนในหน้าปกหนังสือ (blurb) ก็ทึ่งเลย เอ๊ รู้จักเพลง วงดนตรีและนักร้องเหล่านี้ แต่ไม่เคยสนใจโปรดิวเซอร์ น่าสน น่าสน
ในช่วงปลายช่วงปี 1970 มีเหตุการณ์ (ยังอ่านไม่ถึง) ที่ทำให้เขาหนีหน้าจากสังคมไปเก็บตัว (รู้สึกเหมือน ฮาร์วาร์ด ฮิวส์) แล้วจู่ๆ ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2003 เขาก็ถูกจับด้วยข้อหาฆ่าดาราสาว Lana Clarkson (รับบทเล็กๆ ใน Fast Times at Richmond High) ในคฤหาสถ์ของเขาเองในย่านหนึ่งของ ลอส แองเจลิส คดีถูกยกฟ้อง (mistrial) ในปี 2007 แต่ในปี 2009 คดีเปิดขึ้นอีกครั้ง ครั้งนี้เขาถูกตัดสินให้มีความผิดฐานฆ่าคนจริง (Second degree murder) และถูกตัดสินจำคุก 19 ปี ถึงตลอดชีพ
ยุครุ่งเรืองของฟิล สเปคเตอร์ในโลกแห่งแสงสีดูจะอยู่ในเงามืดไปอีกนาน แต่ถ้าเรามองข้ามตรงนี้ไป ชีวิตและความมีวิสัยทัศน์ของเขา ซึ่งทำให้วงการเพลงป้อบเกิดและเป็นที่นิยมมาจนถึงทุกวันนี้ ก็เป็นสิ่งที่น่าทึ่ง น่าศึกษา
ชอบคำพูดด้านหน้าของหนังสือโดย George Bernard Shaw ที่ว่า
นวัตกรรมและิวิวัฒนาการในโลกเกิดได้เพราะคนที่ไม่ได้ดำเนินชีวิตภายใต้กรอบของเหตุและผล -- เจ๋งดี
อ่านสนุก แต่ให้สามดาวครึ่ง เพราะอ่านวิจารณ์ใน New York Times แล้วรู้สึกคนเขียนใส่ไข่มากไปหรือเปล่าไม่รู้ อ่านแล้วโปรดใช้วิจารณญาณ
ReplyDeleteขอบคุณที่มาเล่าสู่กันฟังจ้ะ ฉลาดขึ้นอีกนิดแระ
ReplyDeleteฮ่าๆๆๆ คนฉลาดคุยกันเนอะพี่เนอะ
ReplyDeleteเดี๋ยวคนเค้าค้อนเอาว่าเว่อ ป่าวหว่า อิอิ พูดไปงั้นๆ นะ
ReplyDeleteแวะมาฟังผู้ใหญ่ สนทนากัน
ReplyDeleteอืม..เด็กอย่างเราถึงง แต่ก็ได้ความรู้ประดับตัวมากทีเดียว
แม๊ ท่านส.ส.ให้เกียรติมาเยี่ยมถึงบ้านเชียวนะค้า
ReplyDeleteแต่ว่า "เด็กอย่างเรา"? เอ่อ....
ฟังแล้วสามารถทำเป็นหนังได้เลยนะครับ เรื่องน่าติดตามมากครับ ผมจะรอภาค 2 ต่อครับ
ReplyDeleteไม่รู้จักทั้งสองคน เอาไว้ว่างๆ มายเอามาเล่าให้ฟังดิ
ReplyDeleteด้วยความยินดีค่ะ ^-^
ReplyDeleteเราคงไม่มีทางรู้ได้ว่า คนเหล่านั้นทำร้ายตัวเองเพราะอะไร
ReplyDeleteแต่ก็อย่างฝรั่งว่า เส้นขีดคั่นระหว่างความเป็นอัจฉริยะกับความวิกลจริตมันบางเสียยิ่งกว่าเส้นผม
แหะแหะ สงสัยจะไม่ไหว ความรู้เรื่องนี้ยังน้อยคร้าบบบบ ^^!
ReplyDelete