World Series Game 1 - Wed, October 27, 2010 - 7:30pm EST, San Francisco
San Francisco Giants v. Texas Rangers
GO GIANTS!!!
the fans go crazy after one of the best games ever. Giants over Phillies 6-5 in the National League Championship Series.
My Men of the Match: Juan Uribe, Buster Posey, Pablo Sandoval
in game 3 of the National League Championship Series yesterday afternoon, shutting out the Phillies to put the Giants ahead 2-1 in the best of 7 series.
..among the quartet of former Giants throwing out the ceremonial first pitch before the first San Francisco home game of the National League Championship Series.
As always, a huge ovation from the hometown crowd.
แม่เฮาเป๋นคนยอง มาจากบ้านป่าเห็ว จั๋งหวัดละปูน คนตี้อู้กำยองในละปูนจะมีอยู่บ่กี้ตี้ เฮาก่ามาฮู้เมื่อบ่เมินนี้ว่าคนยองฮ้องคนเจียงใหม่ว่า "คนลาว" ละก่แม่เฮาก่เอาคำศัพท์บางกำของยองมาป๋นกับกำเมืองเจียงใหม่ ฮื้อญาติปี้น้องได้เซ้ย (แซว) กั๋นอยู่เป๋นประจ๋ำ เปิงว่าซำเตื้อ (บางครั้ง) เปื้อนเฮาฟังเฮาบ่ฮู้เรื่อง เสียดายตี้เฮาอู้กำยองบ่ค่อยถอบ (ชัดเจน) แต่ฟังได้ฮู้เรื่องหมดวันนี้เลยไข้เอาประวัติคนยองมาลงไว้โตย
-------------------------------------------------
200 ปี ชาวยอง สิบสองปันนา ชาติพันธุ์ต้นตระกูลคนลำพูน
จากข้อมูลของกลุ่มนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ต่างให้การยอมรับว่า
"นครหริภุญไชย" หรือลำพูน เป็นจังหวัดที่มีกลุ่มคน ชาติพันธุ์ที่หลากหลายที่สุดในภาคเหนือ อาทิ ยวน โยนก ไทใหญ่ ยางแดง เขิน ลื้อ ลั้วะ ยอง มอญ
หากนับชาติพันธุ์ตั้งแต่อดีต ยุคสมัยที่พระนางจามเทวี พร้อมไพร่พล จากเมืองละโว้ เข้ามาปกครองบ้านเมือง สร้างความเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านศาสนา สังคม และวัฒนธรรมจนเป็นที่กล่าวขานว่า เป็นแผ่นดินทองของล้านนา
ต่อมาเมื่อต้องถูกรุกราน ลำพูนต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของเชียงใหม่
จนถึงยุคที่พม่าเข้ามารุกรานล้านนา และได้ปกครองลำพูนนานกว่าสองทศวรรษต้องยอมรับว่าในช่วงหลังสงคราม ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใดก็ตาม
เมืองที่ถูกรุกรานแทบจะกลายเป็นเมืองร้างทันที ผู้คนชาวบ้านต่างหนีตาย
อพยพลูกหลานไปอาศัยอยู่ที่อื่นกันหมด
สำหรับเมืองลำพูน
หลังจากที่ พญากาวิละ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้ต่อสู้ ขับไล่พม่าจนชนะ จึงได้เกณฑ์ชาวเชียงใหม่และชาวลำปางประมาณ 1,500 คนให้มาตั้งรกรากที่เมืองลำพูนพร้อมกันนี้ได้กวาดต้อนชาวไตลื้อจากเมืองยองสิบสองปันนา ประมาณ 10,000 คนมาอยู่เมืองลำพูน
ในช่วงที่มีการอพยพ โยกย้ายผู้คนจำนวนมากนี้ เรียกกันว่า ยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2348 และพญากาวิละได้สถาปนาให้เจ้าคำฝั้น หรือ เจ้าบุรีรัตน์ เป็นเจ้าเมืองลำพูนมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ในที่ราบลุ่มฝั่งแม่น้ำกวง
ตรงข้ามกับตัวเมืองลำพูน ด้านตะวันออก คือบ้านเวียงยองและบ้านตองในปัจจุบัน
สำหรับสาเหตุที่ทำให้ชาวไตถูกกวาดต้อนอพยพมาอยู่ต่างบ้านต่างเมืองในครั้งสงครามนั้น เนื่องจากเป็นเมืองชายขอบที่อยู่ระหว่างศูนย์อำนาจใหญ่ เช่น พม่าจีน เชียงตุง เชียงรุ่ง เชียงแสน เชียงใหม่ และหลวงพระบาง ตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบขนาดเล็กเป็นเมืองที่ไม่มีความเข้มแข็งและมีอำนาจในช่วงสงคราม จึงมีการแก่งแย่งกวาดต้อนผู้คนจากเมืองเล็กๆ ที่ไม่มีความเข้มแข็ง เมืองยองได้รับความกระทบกระเทือนทุกครั้งทำให้ผู้คนล้มตายและหลบหนีเข้าป่าไปจนเกือบเป็นเมืองร้าง
ครั้งที่พญากาวิละ ไปกวาดต้อนผู้คนจากเมืองยองมานั้น ได้ประกาศว่า "ผู้ใดสมัครใจจะไปอยู่เมืองหละปูน บ่ต้องโกนหัว ส่วนไผอยู่เมืองเดิม ให้โกนหัวเสีย"
ปรากฏว่าชนชั้นเจ้านาย ยอมโกนหัว เพื่อประกาศว่าจะไม่ละทิ้งแผ่นดินเกิดในขณะที่ชนชั้นล่าง ชาวไร่ ชาวนา ยินยอมที่จะอพยพไปตายเอาดาบหน้า
แต่พญากาวิละเห็นว่ากลุ่มคนที่ไม่ยอมไป มีมากกว่าและเป็นกลุ่มคนชั้นสูงที่มีคุณภาพ จึงกลับคำและสั่งให้กลุ่มคนเหล่านั้นไปอยู่เมืองหละปูนแทน ส่วนพวกชาวนา ชาวไร่ก็ให้ปักหลักอยู่แผ่นดินเดิมต่อไป
การฟื้นฟูเมืองลำพูนของพระเจ้ากาวิละ เพื่อต้องการให้เมืองเชียงใหม่มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้นประกอบกับเมืองลำพูนยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของเชียงใหม่มาก่อน
จึงได้ให้เจ้าเมืองยอง บุตร ภรรยา พี่น้อง พร้อมชาวยองจำนวนหนึ่งมาตั้งถิ่นฐานราบลุ่มแม่น้ำกวง ฝั่งด้านทิศตะวันออกของเมืองลำพูน แม่น้ำทาและแม่น้ำลี้ เพื่อที่พระเจ้ากาวิละจะสามารถควบคุมดูแลได้ง่ายและป้องกันการก่อกบฏด้วย
นางเพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์
หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญชัย กล่าวว่าคนส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดว่ายองเป็นชื่อของชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งที่แยกตัวมา จากชาวไต แต่แท้จริงแล้ว ยองเป็นชาติพันธุ์เดียวกับชาวไตลื้อ ไตเขิน เพียงแต่อพยพมาจากคนละเมือง ไตยองมาจากเมืองยอง ไตเขินมาจากเชียงตุง ปัจจุบันอยู่ในประเทศพม่า และไตลื้อมาจากเชียงรุ่ง ในสิบสองปันนาปัจจุบันอยู่ในประเทศจีน พอมาอยู่เมืองไทยจึงเรียกตนเองว่า "ไตยอง"
"การสร้างความโดดเด่น หรือ อัตลักษณ์ ให้กับตนเองทางด้านวัฒนธรรมนั้น
ชาวไตเขิน จะสร้างให้ตนเองเป็นสล่า หรือช่างฝีมือชั้นสูง ที่เห็นได้ชัดคือหมู่บ้านเขินแถบวัวลาย กลางเมืองเชียงใหม่ เป็นแหล่งผลิตเครื่องเขินเครื่องเงินและหัตถศิลป์ต่างๆ ชาวไตยอง จะเป็นช่างแกะสลักไม้ และทอผ้าในขณะที่ชาวไตลื้อจะอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ทำไร่ ทำนา"
อาจารย์แสวง มาละแซม นักวิชาการท้องถิ่น จากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ผู้เขียนหนังสือ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คนยองย้ายแผ่นดิน และคนยองกล่าวว่า การเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองลำพูนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมโดยเมืองยองมีพลเมืองลดลงแต่เมืองลำพูนมีจำนวนพลเมืองเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งในรัชกาลที่ 5
ชาวยองเมืองลำพูน ถูกนับเป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองชาวสยามการปรับตัวของชาวยองในแผ่นดินสยาม ในด้านสังคมและวัฒนธรรมกลุ่มชาวยองยังคงรักษาเอกลักษณ์ของตนเองไว้อย่างยาวนาน อาทิ บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ภาษาพูด "ภาษายอง"ซึ่งเป็นภาษาพูดที่สามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจระหว่างชาวยอง สิบสองปันนากับชาวยองลำพูน ซึ่งต่างจากชาติพันธุ์อื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในลำพูน แต่ถูกวัฒนธรรมคนเมืองกลืนไปจนหมด
"ปัจจุบันนี้ ชาวยองนับว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ของเมืองลำพูน เกือบ
70 เปอร์เซ็นต์ พลเมืองลำพูน ทั้ง 7 อำเภอ 1 กิ่ง เป็นคนยองที่อาศัยราบลุ่มน้ำทา น้ำลี้ น้ำกวงทั้งสิ้น เป็นระยะเวลากว่า200 ปี ที่คนยองได้ย้ายแผ่นดิน จากสิบสองปันนา มาอยู่สยามประเทศถึงแม้ว่าระยะทางจะห่างไกลกันก็ตาม แต่คนยองทั้งสองประเทศยังไปมาหาสู่กันอยู่ ร่วมกันคิด สืบสานวัฒนธรรมรากเหง้าของบรรพบุรุษ
ให้ลูกหลานได้สืบทอดต่อไป"
ทันตแพทย์อุทัยวรรณ
กาญจนกามล ทายาทรุ่นที่ 4 เจ้าเมืองยอง ที่ถูกพญากาวิละกวาดต้อนมาอยู่เมืองลำพูน เล่าว่า พ่อเคยเล่าให้ฟังว่าชาวไตยองที่ถูกกวาดต้อนมา มักจะถูกเหยียดยาม ไม่ได้รับการยกย่องจากกลุ่มคนเมือง และกลุ่มเจ้านายเมืองเหนือ ถ้าเกิดมาเป็นหญิงมีรูปลักษณ์หน้าตาสวยงาม ก็จะได้แต่งงานกับเชื้อเจ้า และเจ้าขุนมูลนาย
เหมือนกับย่าทวด หรือเจ้าแม่คำเฝื่อ ลูกสาวเจ้าเมืองยองที่มีด้วยกันสองพี่น้อง
ผู้พี่ได้แต่งงานกับเจ้าหลวงเมืองลำพูน เจ้าดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ แต่ก็ไม่ได้รับการยกย่องเชิดชู ส่วนน้องสาวแต่งงานกับคนจีนตระกูลแซ่เล้า ใน ตระกูลอนุสารสุนทร ซึ่งเป็นต้นตระกูลของนิมมานเหมินทร์
ถึงแม้ว่าจะมีเชื้อเจ้าเมืองยองการเมืองในขณะนั้นค่อนข้างที่จะรุนแรง แต่ตลอดระยะเวลาก็ต้องปกปิดฐานะตนเองไว้ แสดงตัวไม่ได้ และถ้ามีทายาท ที่เป็นลูกชายที่มีความเข้มแข็งแกร่งกล้า หรือฝึกการต่อสู้ถ้าเจ้าเมืองทราบก็จะถูกกำจัดดังนั้น พ่อของตนจึงได้นำตนไปฝากพระประสานสุตาคม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนเลี้ยงดู และด้วยความที่พ่อแม่ไม่ค่อยพูดถึงประเพณี วัฒนธรรมของบรรพบุรุษให้ฟัง จึงทำให้รากเหง้าต่างๆถูกทำลายด้วยความเป็นไปของโลกปัจจุบัน แต่ก็ยังคงรักษาภาษาพูดไว้ สำหรับการกีดกันของเชื้อเจ้านายฝ่ายเหนือ ก็หมดสิ้นไปตามยุคสมัยในการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปการเมือง พ.ศ.2475
นับเป็นประวัติศาสตร์ ครั้งสำคัญของชาวไตหรือคนยอง ที่อพยพกันมาแบบเทครัว หรือเตโค ตั้งแต่ปี พ.ศ.2348 จนถึงเมษายน 2549 เป็นเวลา 200 ปีที่ชาวยองได้มาตั้งถิ่นฐานที่เมืองลำพูน เอกลักษณ์ และวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ยังคงสืบทอดมาจนถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน อาทิ การแต่งกาย ผู้เฒ่า ผู้แก่บางคนยังคงแต่งกายแบบชาวไต
ภาษายอง ซึ่งเป็นภาษาพูดที่เป็นเอกลักษณ์ สำเนียงแปลก แตกต่างจากภาษาคำเมือง บ้านที่อยู่อาศัย ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะหาดูได้ยาก แต่ยังมีให้เห็นใน อ.ป่าซาง อ.บ้านธิ และ อ.เมือง ซึ่งลักษณะของบ้านชาวยองนั้น จะนิยมสร้างบ้านไม้ ใต้ถุนโล่ง หลังคาจะไม่มีกาแล แต่จะมีรูปนกยูง ซึ่งเป็นสัตว์สัญลักษณ์ที่ชาวยองเคารพนับถือประดับอยู่แทน ศิลปะการฟ้อนรำบางอย่าง เช่น ฟ้อนยอง ฟ้อนดาบ การทำกลองหลวง ความเคารพ ยึดถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า รักความสงบ
ชาวไตยองนับเป็นชาติพันธุ์ บรรพบุรุษคนลำพูน ที่รักษารากเหง้าของตนเองได้นานกว่า200 ปี ซึ่งเด็กรุ่นหลังควรจะภาคภูมิใจ ยึดรากเหง้าวิถีชีวิตดั้งเดิมของบรรพบุรุษรักษาไว้"
ที่มา bloggang.com
อ่านเพิ่มเติมเรื่องคนยองและหริภุญไชยได้ที่นี่ จดหมายเหตุคนยองบ้านป่าม่วง, ฮูปเก่าๆ
---------------------------------------------------
ส่วนเรื่องบ้านป่าเห็วนั้น เซาะข้อมูลได้มาก่าเรื่องวัดป่าเห็ว แต่ก็ใจ้ได้เพราะหมู่บ้านเป๋นหมู่บ้านหน้อยๆ ตั้งอยู่บนถนนเจียงใหม่-หละปูนสายเก่า
"ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างมาแต่สมัยใด แต่ทราบว่าเริ่มบูรณะปฏิสังขรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2375 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ ด้าน ปูชนียวัตถุมี พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน และเจดีย์
วัดป่าเห็ว ตั้งชื่อตามหมู่บ้านที่ตั้งอยู่(เดิมเขียนว่าป่าเหียว) จนกลายมาเป็นป่าเห็วเช่นปัจจุบันนี้ ที่มีชื่อเช่นนี้เพราะว่ามีต้นเหียวมากมาย
ต้นเหียวหรือไม้ตะเคียนหนู2
ชื่อวิทยาศาสตร์ Anogeissus acuminata Wall.var. lanceolata Clarke
ชื่อวงค์ COMBRETACEAE
ชื่ออื่น หมากเปียก เบน เหียว แหว เอ็มมอญ เอ็นลื่น
วัดป่าเห็วกับแม่น้ำปิงห่าง
วัดป่าเห็วตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปิงห่าง แต่เดิมนั้นเป็นแม่น้ำปิงสายเดิมที่ยังไม่เปลี่ยนเส้นทางเดิน แต่เดิมนั้น แม่น้ำปิงไหลไปทางเวียงกุมกาม โดยได้รวมเวียงกุมกามไว้ฟากเดียวกับเมืองเชียงใหม่ในสมัยราชวงศ์มังราย ( พ.ศ. ๑๘๓๙ - ๒๑๐๑ ) ในตอนนั้นการเดินทางจากเชียงใหม่ไปเวียงเชียงใหม่ไปเวียงกุมกามจะไม่ข้ามแม่ น้ำปิง เมื่อเราดูภาพถ่ายทางอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ จะเห็นร่องรอยของปิงห่างชัดเจนมาก จุดที่ปิงห่างแยกตัวจากแม่น้ำปิงปัจจุบันจะอยู่ห่างวัดกู่คำ หรือวัดเจดีย์เหลี่ยม บ้านท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ไปทางทิศเหนือ วัดระยะทางทางอากาศประมาณ ๒๕๐ เมตรจากนั้นร่องรอยของปิงห่างจะผ่านวัดศรีบุญเรือง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เลียบไปทางทิศเหนือของเวียงกุมกามเลียบไปตามถนนสายเชียงใหม่ - ลำพูนสายเก่าด้านทิศตะวันตก ผ่านบ้านสันคือ บ้านหนองผึ้ง บ้านกองทราย บ้านกู่เสือ บ้านปัน
ปิงห่าง คือ สายน้ำแม่ปิงเดิม ๆ ที่ยังไม่เปลี่ยนเส้นทางเดิน ในสมัยโบราณเมืองลำพูนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำปิง เวลานั้นแม่น้ำปิงไหลมาบรรจบกับแม่น้ำกวงที่บ้านหลิ่งห้า เรียกว่า “ สบปิงหลิ่งห้า “ ไหลรวมกันผ่านบริเวณหน้าวัดพระยืนไปรวมกับลำน้ำแม่สานหรือสารนที ที่ไหลล่องลงไปทางทิศใต้ของเมือง
แม่น้ำกวงเป็นลำน้ำเล็ก ๆ ที่ไหลมาจากขุนกวงในอำเภอดอนสะเก็ดจังหวัดเชียงใหม่ในอดีตไหลมารวมกับน้ำปิง สายเก่าตรงสบปิงหลิ่งห้า น้ำกวงตรงช่วงที่ไหลผ่านบ้านช่างฆ้อง หัวกวง ท่านาง ท่าสิงห์พิทักษ์ ท่าขาม บ้านหลวยนั้นก่อนหน้าของยุคพระเจ้ามังราย ไม่มีปรากฏ พื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นผืนเดียวกันหมด แต่มาเกิดขึ้นในสมัยของพระเจ้ามังรายหลังจากที่ตีเมืองลำพูนได้แล้ว พระเจ้ามังรายได้ยกพลไปตั้งมั่นอยู่ ณ บริเวณที่เรียกว่า เวียงน้อย ทางอีสานทิศของเมืองลำพูนเนื่องจากบริเวณนี้เป็นที่ลุ่ม ในฤดูฝนหน้าพรรษาจะมีน้ำท่วมขัง เป็นที่เดือดร้อนไปทั่ว ทั้งผู้คน ช้าง ม้า วัว ควาย จึงทรงสั่งให้ขุดลัดคุ้งแม่น้ำ เป็นการระบายน้ำในที่ลุ่มให้ออกไป สายน้ำปิงและน้ำกวงที่รวมกันจึงเปลี่ยนเส้นทางเดิน มุ่งเข้าและมุ่งตรงไปยังที่ลุ่มกว่าโดยง่าย เปิดทางน้ำกว้างออก กลายเป็นแม่น้ำกวงเส้นปัจจุบันที่เห็นอยู่เพียง บ้านปากกอง บ้านอุโมงค์เขตเมืองลำพูน บ้านกอม่วง บ้านป่าเห็ว จากบ้านป่าเห็วนี้ร่องรอยของปิงห่างจะเปลี่ยนแนวมาทางทิศตะวันออก ขนาบอยู่ทางทิศตะวันออกของทางรถไปผ่านข้างหนองหมู บ้านป่าเส้า บ้านชัยสถาน บ้านต้นผึ้ง บ้านไร่ บ้านป่าสัก บ้านปิงห่าง และบ้านหลิ่งห้า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ปิงห่างจากเวียงกุมกามถึงจุดบ้านหลิ่งห้าจะมีระยะทางยามประมาณ ๒๕ กิโลเมตร ร่องรอยของปิงห่างปรากฏเป็นแนวขนานอยู่ทางทิศตะวันตกของถนนสายเชียงใหม่ - ลำพูน ในแนวตั้งแต่บ้านสันคือลงไปถึงบ้านอุโมงค์ ช่วงนี้จะมีลักษณะลาดต่ำลงเป็นแอ่งกระทะ ระดับของท้องน้ำจะอยู่ต่ำกว่าระดับถนนประมาณ ๑-๒ เมตร ถนนสายเชียงใหม่ - ลำพูน จึงถูกสร้างบนพนังธรรมชาติของร่องปิงห่าง และตอนปลายของร่องน้ำนี้จะประจบกับแม่น้ำกวง ณ บริเวณบ้านหลิ่งห้าซึ่งเรียกกันว่า “ สบปิง “ หรือ “ สบปิงหลิ่งห้า “
จากจุดสบปิงตรงบ้านหลิ่งห้านี้มีข้อสังเกตว่า ในสมัยพระนางจามเทวีนั้น แม่น้ำกวงคงจะไม่ได้ไหลผ่านหมู่บ้านเข้าเมืองหริภุญชัยตามที่ไหลผ่านเช่น ปัจจุบันคือ ผ่านสะพานดำ ( ใต้สถานีรถไปลำพูน ) บ้างช่างฆ้อง บ้านหัวกวงท่านาง ท่าสิงห์พิทักษ์ผ่านหน้าวัดพระธาตุหริภุญชัย ท่าขามเข้าสู่บ้านหลวย ทั้งแม่น้ำกวงช่วงนี้ก็ไม่ใช่แม่น้ำปิงหรือพิงคนทีที่ในตำนานกล่าวไว้ว่า อยู่ทางเบื้องตะวันออกของหริภุญชันสครแต่ประการใด คงพอที่จะสันนิษฐานได้ว่า ในช่วงเวลาของพระนางจามเทวีเสด็จจากเมืองละโว้มาเมืองลำพูนในตอนนั้นไม่มี แม่น้ำกวงและพิงคนทีหรือแม่น้ำปิงไหลผ่านเมืองลำพูนเช่นปัจจุบันนี้ น้ำแม่กวงและน้ำแม่ปิง ( ปิงเก่า ) ที่แท้จะไหลมาถึงและรวมตัวกันที่สบปิงหลิ่งห้าเท่านั้น ผืนแผ่นดินที่ถูกแบ่งโดยแม่นไกวงขณะนี้นั้นเมื่อก่อน ๆ โน้นเป็นผืนแผ่นดินเดียวกันโดยตลอด ทั้งนี้เพราะวัดสี่มุมเมืองที่รพะนางจามเทวีได้ทรงสร้างขึ้นในตัวเมืองหริภุญชัยหนึ่งในวัดทั้งสี่วัดคือ “ วัดดอนแก้ว “ หรือ “ อรัญญิกรัมมการาม “ ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ในตัวเมืองขณะนั้นไม่มีลำน้ำใด ๆ ผ่าผ่านทางด้านทิศตะวันตกของวัดและวัดสี่มุมเมืองนี้จะมีระยะทางห่างจากจุด ศูนย์กลางของเมืองคือ ตรงจุดสะดือเมืองที่เป็นพระวิหารสะดือเมืองเดี๋ยวนี้ ห่างเป็นระยะประมาณวัดละ ๕๐๐ วา ทั้งสี่วัด เมื่อเป็นดังนี้จึงชวนให้คิดว่า แม่น้ำปิงที่ในตำนานว่าอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองหริภุญชัยนั้นจะอยู่ ณ ที่ตรงไหน
พอจะเป็นที่สันนิษฐานได้หรือไม่ว่า แม่น้ำปิงในอดีตหรือปิงห่างนั้นจะบรรจบกับลำน้ำกวงที่ไหลมาทางด้านทิศตะวัน ออกเฉียงเหนือตรงจุดที่เรียกว่า “ สบปิงหลิ่งห้า “
แล้วไหลมุ่งตรงไปทางหน้าวัดพระยืนไปพบกับลำน้ำแม่สานหรือสารนทีรวมกันแล้ว ๆ ไหลไปลงที่สบสานบ้านหลาย ไหล่ล่องไปทางทิศใต้เรื่อย ๆ ไปบรรจบกับลำนำแม่ทาตรงบ้านสบทา เส้นทางการไหลผ่านของน้ำแม่ปิงในลักษณะเช่นนี้แม้จะเป็นเพียงการสันนิษฐาน ก็คงพอที่จะทำให้เรามองเห็นภาพของเมืองหริภุญชัย ที่ตั้งอยู่ในทางทิศวันตกของลำน้ำปิงได้อย่างชัดแจ้ง และคงจะเป็นไปได้ยิ่งขึ้นจึงอยากจะขอฝากไว้ให้ท่านผู้รู้และผู้ที่มีข้อ สังเกตทีสามารถชี้ชัดได้ว่า ข้อเท็จจริงเป็นเช่นไร ช่วยพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง เพื่อจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องต่อไป มีข้อที่น่าสังเกตและน่าจะสันนิษฐานได้อีกประการหนึ่งก็คือเมื่อพระยามัร ายตีได้เมืองหรือภุญชัยแล้วก็อยู่เสวยราชสมบัติเพียงสองปีก็ทรงแต่งตั้งให้ อ้ายฟ้าเป็นขอนฟ้าครองเมืองหริภุญชัย สาเหตุที่พระองค์ไม่เลือกหริภุญชัยนครเป็นราชธานี เพราะเมืองหริภุญชัยมีขนาดจำกัดตัวเมืองซึ่งสร้างมากว่า ๕๐๐ ปี นขณะนั้นไม่สามารถจะขยายออกไปได้ดั่งใจนึกและเต็มที่ อีกทั้งตัวเมืองก็เต็มไปด้วยวัดวาอารามและเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนามา ช้านาน ที่สำคัญยิ่งก็คือมีพระบรมธาตุเจ้าหริภุญชัยจึงทรงคงไว้ให้เป็นต้นเค้าของ เมืองแห่งพระพุทธศานาโดยแท้ไว้เช่นนั้น และเห็นควรที่จะแสวงหาทำเลแห่งใหม่ เพื่อการสร้างนครหลวงให้ยิ่งใหญ่ได้สมใจแห่งพระพุทธศาสนาโดยแท้ไว้เช่นนั้น และเห็นควรที่จะแสวงหาทำเลแห่งใหม่ เพื่อการสร้างนครหลวงให้ยิ่งใหญ่ได้สมใจแห่งพระองค์ในครั้งนั้น จึงโปรดให้ยกไปตั้งหลัดอยู่ ณ เบื้องทิศอีสานแห่งเมืองหริภุญชัย ดูน่าจะเป็นบริเวณใกล้ ๆ กับสถานสบปิงหลิ่งห้าซึ่งมีซากของเมืองเก่าให้เห็นอยู่เรียกว่า “ เวียงน้อย “
วัดป่าเห็วกับ “ ขัวมุง “
“ ขัว หมายถึง สะพานคนเดินข้ามลำคลอง ลำเหมือง หรือแม่น้ำ พังนั้น ขัวมุง จึงหมายถึง สะพานที่มีหลังคาคลุมตลอดตัวสะพาน … เมื่อครั้งอดีต ขัวมุงเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของภูมิภาคล้านนา เป็นสถานที่พักร้อนคลายเหนื่อย หลบแดด หลบฝน เป็นทั้งตลาดขนาดเล็กของชุมชน และเป็นสถานที่ประชุมพบปะของผู้คนในท้องถิ่น
เรื่องราวความเป็นมาของขัวมุงนั้นมีมาแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏที่แน่ ชัด มีเพียงเรื่องเล่าสืบทอดต่อกันมาจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่า ขัวมุงนั้นเป็นชื่อของหมู่บ้านและตำบลเล็ก ๆ ตำบลหนึ่งในชนบทสันนิษฐานว่าตั้งขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๔ โดยในตำบลนั้นมีแม่น้ำสายหนึ่งไหลผ่าน ชื่อแม่น้ำโคง ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อระหว่างจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน สมัยนั้นมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเจ้าเมืองเชียงใหม่และเจ้าเมือง ลำพนต่างก็มีอำนาจและบารมีในสมัยนั้น วันหนึ่งได้นักการชนช้างกันในระหว่างแม่น้ำโคง
ในการชนช้างครั้งนั้นปรากฏว่าเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นผู้ชนะ เมื่อเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นผู้ชนะ จึงคิดจะสร้างอนุสรณ์ที่แสดงถึงชัยชนะไว้ จึงได้คิดสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโคงระหว่างหมู่บ้านขึ้นมา ซึ่งสะพานนั้นมีลักษณะแปลกกว่าสะพานทั่ว ๆ ไปคือ สะพานนั้นทำด้วยไม่ล้วน ๆ มีหลังคาที่มุงด้วยไม้เกตุแทนกระเบื้องดินเผา สะพานนั้นสร้างไว้บริเวณทางเหนือของวัดขัวมุงเพื่อให้เป็นที่สัญจรไป มาระหว่างหมู่บ้าน แต่ในปัจจุบันนี้สะพานได้ชำรุดเสียหายไปหมดแล้ว เหลือไว้เพียงนาม หมู่บ้านขัวมุง และวัดขัวมุงเท่านั้น
บ้างก็เล่าว่า การสร้างขัวมุงนั้นไม่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อะไรเลย แต่การสร้างขัวมุงนั้นสร้างไว้เพื่อเป็นที่สำหรับสัญจรไปมาระหว่างหมู่บ้าน โดยในสมัยก่อนจะสร้างไว้ใกล้วัดเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากในสมัยก่อนวัดนั้นเป็นศูนย์รวมทางด้านการศึกษา ซึ่งเมื่อชาวบ้านจะเดินทางมาวัดก็จะเดินข้ามขัวมายังวัดสาเหตุที่ต้องสร้าง ขัว หรือสะพานให้มีหลังคานั้นก็มีสาเหตุมาจากความเชื่อต่างๆ ของ ชาวบ้านว่า ขัวหรือสะพานนั้นแต่ก่อนสร้างด้วยไม้ไม่ใช่การสร้งด้วยอิฐหรือปูนดัง ปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อให้ใช้งานได้นาย ๆ ผู้สร้างจึงทำหลังคาไว้เพื่อกันแสงแดด และน้ำฝนที่จะเป็นสาเหตุให้ไม้ผุและสะพานเสื่อมเร็วบ้างก็ว่า สาเหตุที่สร้างหลังคานั้นก็เพราะว่าเมื่อชาวบ้านที่เดินทางมาวัดเพื่อทำบุญ จะมาล้างมือที่บริเวณขัวหรือสะพาน เพื่อมิให้คราบไคลจากตัว ไปติดวัดและอีกประการหนึ่งใช้เพื่อเป็นที่หลบแดด หลบฝนหรือเพื่อพักผ่อนพบปะพูดคุยกัน ซึ่งชาวบ้านบางคนก็จะนำสินค้าและอาหารมาขายบิริเวณสะพานหรือขัวนี้ด้วย
บุญเสริม สกตราภัย ได้กล่าวถึงขัวมุง คอลัมน์สีสันวันวารในหนังสือขวัญเรือน ฉบับที่ ๗๓๘ ว่า ขัวมุง หรือก็คือ ขัวม่าน ซึ่งเกิดจากผู้ที่สร้างสะพานแห่งนี้ซึ่งเป็นชาวพม่า ชาวบ้านจึงเรียกว่า “ ขัวม่าน “
“ ม่าน “ ก็คือ “ พม่า “ นั่นเองเชื่อกันว่าขัวมุงนั้นสร้างขึ้นเพื่อเป็นสะพานข้ามลำเหมืองแห่งหนึ่ง เป็นสะพานไม้มุงหลังคา สร้างด้วยสถาปัตยกรรมศิลปะที่สวยงาม แข็งแรง ในอดีตของล้านนานั้นเคยมีสะพานแบบนี้อยู่หลายแห่ง เนื่องจากการเดินทางของของคนในสมัยก่อนนั้นต้องให้การเดิน ซึ่งค่อนข้างจะไกลเพื่อให้นักเดินทางได้พักผ่อนในระหว่างเดินทางขังมุงส่วน ใหญ่นอกจากจะถูกสร้งเพื่อเป็นสะพานข้ามแม่น้ำแล้วยังใช้เป็นที่พักริมทางของ ผู้ที่สัญจรไปมา เพราะข้างในขัวมุงจะมีที่นั่งพักและหม้อดินใส่น้ำเย็น
ที่มาของภาพ: จากอินเตอร์เน็ท
อยากไข้เขียนเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับบ้านเกิดของเฮาตี้คนเฒ่าคนแ่ก่เปิ้นเล่าไว้ฮื้อฟังมาเมินละก่บ่ได้โอกาสซักเตื้อ วันนี้ออกใจ๋ (ครึ้มใจ) เอาเหียน่อยเต้อะ ข้อมูลอะหยังก่บ่ค่อยจะมี แต่ว่าไปตามเอ็นต้วงม่อกม่วนก็แล้วกั๋นน่อ
ขอเล่าเป๋นกำเมือง เพราะฉะนั้นต้องขอสุมาคนตี้เข้ามาอ่านแล้วบ่เข้าใจ๋โตยเน่อเจ้า
ขณะเีดียวกั๋น ก็ต้องขอสุมาคนเมืองตี้ข้อมูลตี้ไปรวบรวมมาส่วนมากก่จะเป๋นกำไทย รวมๆ กั๋นแล้วมันก่ก๋ายเป๋นสำนวนแก๋งโฮะ (อะไรที่มารวมๆกันแบบไม่มีแบบแผน ไม่เป็นระเบียบ) ไปซักน่อย
เอาละ เข้าเรื่องกั๋นเต๊อะ...
น่าเศร้าใจ๋ตี้บ่ะเดี่ยวนี้ ฟ้าฮ่ามก๋ายเป็นตี้ตี้คนฮู้จักในฐานะตี้เป็นตี้กิ๋นตี้แอ่ว กิ๋นเหล้าฟังเพลงตะอั้น ทั้งๆตี้ บ้านเฮามีประวัิติสืบทอดเมินนาน บ่ะเดี่ยวนี้พอเอ่ยจื้อฟ้าฮ่าม คนก็กึ้ดถึง ข้าวซอยเสมอใจ๋พ่อง ข้าวซอยลำดวนพ่อง ก็บ่มี๋อะหยังผิด แต่ความตี้เฮาเกิดฮั้น ใหญ่ฮั้น หันความเปลี่ยนแปลงไปในทางวัตถุ มันก่บ่ม่วนใจ๋เป็นธรรมดา (ก่ท่าจะเริ่มเฒ่าน่า่ก่ะเนาะ) เลยอยากไข้เก็บเกร็ดหน้อยๆ หนิดๆ เต้าตี้เซาะได้ กึ้ดได้มาลงไว้พ่อง
น่าแปลกใจ๋ตี้ข้อมูลเรื่องฟ้าฮ่ามเซาะยากขนาด ได้มาม่อกเอี้ยะ
------------------------------------------
ประวัติวัดฟ้าฮ่ามและบ้านฟ้าฮ่าม
"พระ เจ้าแสนเมืองมา" พระเจ้าลักขบุราคม พระองค์เป็นกษัตริย์ราชวงค์มังราย (เม็งราย) องค์ที่ 9 ทรงเป็นราชโอรสของพระเจ้ากือนาธรรมมิกราช กษัริย์องค์ที่ 8 เมื่อพระชมมายุได้ 15 พรรษา ในเวลานั้น พระเจ้าพรหม พระมาตุลาของพระองค์ ครองเมืองเชียงราย ได้ยกทัพมาตีนพบุรีศรีนครพิงค์(เชียงใหม่) เพื่อแย่งชิงราชบัลลังก์ แต่ถูกทัพหลวงตีพ่าย จึงขอความช่วยเหลือจากพระอินทรราชากษัริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา แต่ก็ถูกตีพ่ายไปอีก
ต่อมาอีกไม่นาน พระเจ้าพรหมก็เสด็จมานพบุรีศรีนครพิงค์อีก เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ โดยนำพระพุทธสิพิงค์ (พระสิงห์) องค์สำคัญคู่บ้านคู่เมือง (สร้างเมื่อ พ.ศ.700 ตามตำนาน "สิงหลปฏิมา" และ ชินกาลมาลีปกรณ์ สร้างขึ้นที่ประเทศศรีลังกา นัยหนึ่งว่าที่เมือง "อนุราชสิงหล" ประเทศเดียวกัน ครั้งเมื่อพ่อขุนรามคำแหงได้แต่งราชฑูตไปขอมาจากประเทศศรีลังกา) มาจากเมืองกำแพงเพชร ประมาณ พ.ศ.1933 (พงศาวดารโยนก) อัญเชิญไปไว้ที่เชียงราย ใน พ.ศ.1934 แล้วต่อมาได้นำมาถวายพระเจ้าแสนเมืองมา เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ โดยอัญเชิญจากเชียงรายทางลำน้ำกก แล้วมาขึ้นที่สบฝางกุสะนคร (เมืองฝาง) จากนั้นอัญเชิญขึ้นหลังช้างไปเชียงดาว เพื่อล่องเรือตามเส้นทางลำน้ำแม่ระมิงค์ (แม่ปิง) ครั้นถึงนพบุรีศรีนครพิงค์แล้ว อัญเชิญขึ้นที่ท่าวังสิงห์คำ เหนือท่าเจดีย์งามประมาณ 50 ว่า แต่เกิดเหตุการณ์ปาฏิหารย์ขององค์พระพุทธสิหิงค์ ปรากฏว่า ท้องฟ้าที่สว่างก็มืดลง และ มีพระรัศมีจากองค์พระพุทธสิหิงค์ พุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลำแสงสีทองดั่งรุ้งกินน้ำ ยาวประมาณ 2,000 วา และ สิ้นสุดที่แห่งหนึ่ง ท้องฟ้าที่นั้นก็สว่าง ซึ่งเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก
พระเจ้าแสนเมืองมาจึงโปรดเกล้า ให้สร้างอารามขึ้น ณ ที่ลำแสงสิ้นสุดนั้นว่า "อารามฟ้าฮ่าม" (วัดฟ้าฮ่าม) หมายถึงฟ้าสว่าง-อร่ามเรืองรอง สร้างเมื่อ พ.ศ.1934 (นับเป็นเวลาถึงปัจจุบัน พ.ศ.2552 วัดฟ้าฮ่ามมีอายุได้ 618 ปี) จากนั้นนำพระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐาน ณ.วัดลีเชียงพระ (วัดพระสิงห์) ในปัจจุบัน
ที่มา: bloggang.com
เก๊าสะหลี (ต้นโพธิ์) ตี้เคยล่น (วิ่ง) เล่นมอบ (ซ่อนหา) ละก่จะต้องหันป้อน้อยป้อหนานเอาขี้เต้ามายาก๋องใหญ่ (เอาขี้เท้ามาทาหน้ากลองยาว) สะลวด (ตลอด)