Explorer of Life

Tuesday, April 5, 2011

Starburst Effects - เทคนิคถ่ายดวงอาทิตย์ให้เป็นแฉก

http://www.earthboundlight.com/phototips/starburst-effects.html
วันก่อนหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ แล้วพอดีวันนี้คุณ MyColor เอาฉบับภาษาไทยมาฝาก เลยมาแปะไว้เพื่อง่ายต่อการสืบค้นนะคะ -- ข้อมูลภาษาไทยบ่งถึงข้อจำกัดว่าถ้าเราใช้กล้องแบบคร้อปเซนเซอร์ (cropped sensor หรือ ASP-C) ก็จำเป็นต้องใช้ใช้เลนส์ที่กว้างมากๆ อย่าง 10-20 มม ไปเลย แต่ภาษาอังกฤษอธิบายเรื่อง diffraction ไว้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างรูรับแสงกับ focal length ของเลนส์ในการเอามาสร้างใ้ห้เกิดแสงแฉก -- คงต้องอ่านเองนะคะ มิบังอาจแปล เดี๋ยวผิด เพราะไม่ได้เข้าใจลึกซึ้ง


เทคนิคถ่ายดวงอาทิตย์ให้เป็นแฉกๆ จาก fisheyecamerah.com
"เห็นภาพถ่ายย้อนแสงดวงอาทิตย์เป็นฉากประกายแบบนี้แล้ว คุณอยากถ่ายภาพแบบนี้บ้างไหม? ถ้าอยากมาเริ่มกันเลยครับ อันดับแรกคือ คุณจำเป็นต้องมีเลนส์มุมกว้างพิเศษ ลำพังเลนส์คิทที่คิดมากับกล้องเช่น 18-55 มม. แม้ว่าช่วง 18 มม. จะมีองศารับภาพกว้าง แต่กับกล้องที่ไม่ใช่ฟูลเฟรม ต้องคูณทางยาวโฟกัสเพิ่ม 1.5 หรือ 1.6 เท่า จะเทียบเท่ากับเลนส์มุมกว้างประมาณ 28 มม. ซึ่งน้อยเกินไปสำหรับการถ่ายภาพประเภทนี้ แต่ถ้ากับกล้องฟูลเฟรม เลนส์ที่เหมาะสมอยู่ในช่วงทางยาวโฟกัส 20 มม. ลงไปจนถึงเลนส์ตาปลาที่ให้มุมภาพกว้างสุดๆ ถึง 180 องศา ส่วนกล้องที่ไม่ใช่ฟูลเฟรม หรือใช้เซ็นเซอร์ขนาด APS-C ต้องมีเลนส์มุมกว้างประมาณ 12 มม. ลงไป เช่น ซูม 10-22 มม. เป็นต้น สำหรับกล้องพานาโซนิคและโอลิมปัสที่ใช้เซ็นเซอร์ขนาด 4/3 ต้องใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสต่ำกว่า 10 มม. เช่นกัน

ลำดับต่อไปคือ ต้องถ่ายภาพในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใส ไม่มีเมฆ ลองดูภาพตัวอย่างทั้งหมด จะเห็นว่าท้องฟ้าเป็นสีน้ำเงินเข้มอย่างสวยงาม และต้องถ่ายในช่วงเวลาประมาณสามโมงเช้าไปจนถึงสามโมงเย็น เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งสูงพอสมควรและมีแสงแดดจัด เมื่อทุกอย่างพร้อม ต่อไปก็ต้องมองหาซับเจคท์หรือจุดสนใขในภาพ ถ้าเป็นไปได้ควรมองหาวัตถุที่มีการสะท้อนแสงมากๆ หรือมีลักษณะโปร่งแสง เนื่องจากการถ่ายภาพจะปรับค่าแสงเน้นไปทางอันเดอร์ หรือไม่ก็ถ่ายซับเจคท์ให้เป็นซิลลูเอทหรือเงาดำไปเลย

สำหรับการวัดแสง ไม่จำเป็น เพียงแค่ปรับโหมดบันทึกภาพไปที่แมนนวล (ปรับความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสงเอง) แล้วใช้กฏซันนี่ 16 คือ ตั้งความไวแสง ISO 100 ความเร็วชัตเตอร์ 1/125 วินาที รูรับแสง f/16 เท่านี้ก็ใช้ได้ ไม่ว่าจะไปถ่ายภาพที่ไหน ความสว่างของดวงอาทิตย์ในวันที่ท้องฟ้าปรอดโปร่งจะใกล้เคียงกัน หากเป็นกล้องนิคอนที่มีความไวแสงเริ่มต้น ISO 200 ให้เปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์เป็น 1/250 วินาที หรือเปลี่ยนรูรับแสงเป็น f/22 อย่างใดอย่างหนึ่ง

จบเรื่องการวัดแสง ก็มาถึงขั้นตอนสุดท้ายคือ มุมมองและการจัดองค์ประกอบภาพ แน่นอนว่าเราต้องการถ่ายภาพให้เห็นดวงอาทิตย์ ดังนั้นต้องระมัดระวังเรื่องการมองดูภาพในช่องมองให้ดี แสงสว่างจ้าของดวงอาทิตย์อาจส่งผลเสียกับสายตาของเราก็เป็นได้ หากที่กล้องมีฟังก์ชั่น Live View ให้ดูภาพจากจอมอนิเตอร์ LCD แทนการดูในช่องมองภาพ หรือใช้วิธีการคาดคะเนมุมภาพโดยไม่ต้องดูจากช่องมอง หากต้องการดูภาพให้ช่องมองจริงๆ ให้ดูอย่างรวดเร็วแล้วกดชัตเตอร์บันทึกภาพทันที อย่ามองแช่เป็นเวลานานๆ เหมือนการถ่ายภาพตามปกติ ถ้าถ่ายภาพด้วยกฏซันนี่ 16 แล้วพบว่า ดวงอาทิตย์สว่างจ้าเกินไป ไม่ปรากฏเป็นแฉกเหมือนภาพตัวอย่าง ให้ถ่ายอันเดอร์ลงไปอีก 1 สตอป จะปรับความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น หรือปรับรูรับแสงเล็กลงก็ได้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ลองดูนะครับ แล้วคุณจะพบภาพที่แปลกใหม่อย่างที่ไม่เคยถ่ายได้มาก่อน"


Starburst Effects - Photo Tips @ Earthbound Light

Starburst Effects - Photo Tips @ Earthbound Light



Starburst Effects

Turning the sun into a starburst can add a special something to a photograph. Making it happen though can seem like blind luck, but there is a secret to increasing your odds.

The aperture of a lens is formed by an overlapping arrangement of blades that open and close to control the amount of light reaching the film. A spreading of light known as diffraction along the boundaries between these blades at small openings results in the starburst effect. The smaller the opening, the more pronounced the effect.

As was mentioned last week, a lens's aperture number is a ratio between the diameter of its opening and its focal length. As such, if a lens is set to an aperture of f/22, it has an opening with a diameter that is 1/22 of its focal length. Contrary to you might think at first, if you keep the diameter of the opening the same but increase the focal length, the aperture doesn't stay the same. Take a 50mm lens and set it to f/22. Then take a 100mm lens (twice the focal length) and set it so that its opening is exactly the same size as the 50mm lens. The aperture of the 100mm lens would be a ridiculous f/45 (double that of the 50mm lens), in order to maintain the same ratio (50 divided by 22 is the same as 100 over 45). Since there is no such thing (generally speaking) as an f/45 lens for an SLR, you will likely need to settle for an f/22 aperture on that 100mm lens which would be a bigger hole than would f/22 on that 50mm lens.

Sunset on First BeachSo, in order to get more chance of diffraction, you should use a small lens opening, and you will get a smaller opening if the lens you use is a wide angle lens instead of a telephoto, since by definition this will give you a smaller focal length and therefore a smaller lens opening for a given aperture.

The number of streaks in the starburst depends on the number of blades in the aperture. The diffraction occurs at each point where two blades overlap and spreads in both directions from the center of the lens outwards. Lenses that have an even number of blades will yield starbursts that have the same number of streaks as blades since each streak will have a counterpart from the opposite aperture blade that lines up with it exactly. If a lens has an odd number of aperture blades (as most actually do) you will end up with twice as many streaks as aperture blades since no overlap will occur.

As you probably already know, along with all the other "special effects" filters currently available, you can buy so called "starburst" filters, so all this may sound like more bother than it's worth. In my experience though, these filters rarely yield optimal results. They allow you to create starbursts even when they wouldn't normally occur. And wouldn't really rather have the real thing anyway?

Update 12/12/2004: If you shoot with digital, you might not want to go all the way to f/22. Diffraction though that small of an aperture can start to soften an image more on digital due to the smaller sensor size. You can still get great starbursts at f/16 though.

21 comments:

  1. G o o d ขอบคุณคับบบบบบ

    ReplyDelete
  2. ยินดีค่ะ แบ่งปันความรู้ไป

    ป.ล. หกโมงเย็นเมื่อวานมองหาพระจันทร์แล้วนะ บ๋อแบ๋ค่ะคุณต้า ไม่เห็นบนฟ้าซักติ่ง

    ReplyDelete
  3. มันอยู่ข้างแรมพี่ไ่ม่เห็นหรอกคับ

    ผิด ๆๆมัน 2 ค่ำ ดวงจันทร์มันขึ้นฝั่งผมที่ไทยตอนเย็น 6โมงเย็นแสงยังสว่าง + เีสี้ยวเล็ก
    ยังมองไม่เห็นคับ

    ReplyDelete
  4. ขอบคุณครับพี่ต่อย

    ReplyDelete
  5. เจ๋งค่ะ ถ้าพรุ่งนี้มีโอกาสจะคอยดูค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

    ReplyDelete
  6. ยินดีค่ะ คุณหมอ แปะๆ ไว้สำหรับ มือใหม่หัดขับ อย่างพี่น่ะค่ะ

    ReplyDelete
  7. บ้านพี่ขึ้น 7 โมงเช้า เดี๋ยวไปดูก่อนเห็นป่าว

    ReplyDelete
  8. ไืม่เอาเวลาผมสิคับ เอาเวลาของพี่จิง ๆ นะ

    ReplyDelete
  9. ชอบคุณค่า ดีจัง

    ReplyDelete
  10. ส่องดวงอาทิตย์บ่อยๆระวังสายตาจะเสียนะครับ ^^

    ReplyDelete
  11. เมื่อวานก็ไปส่องมา ฮิตลองเทคนิคนี้ อยากลองความรู้ใหม่ แต่ใส่ CPL นะ ใส่แว่นกันแดดด้วย เป็นไรป่าวอ่ะ :(

    ReplyDelete
  12. ขอบคุณที่แวะมาค่ะ คุณปุ๊ก^^

    ReplyDelete
  13. โอ้ววว ได้ความรู้เพิ่ม ขอบคุณค่ะ

    อ้าวว นอนแล้วเหรอ^^

    ReplyDelete
  14. นี่ล่ะค่ะ สุดยอดปรารถนา อยากเข้าใจกลไกของมัน แล้วจะได้ประยุกต์ใช้ได้ถูกต้อง

    ว่าแต่ป้า เอ้ย น้า เอ้ย หนู มีคำถามอยู่ข้างล่างเด้อ ...

    ป.ล. พิมพ์เครื่องหมายหมวกจีนกลับหัวไม่เป็นอ่ะ :(

    ReplyDelete
  15. ขอบคุณค่ะ ปกติถ้าส่องดวงอาทิตย์จะใส่ cpl ให้เลนส์ ส่วนสายตาใส่ Ray-Ban ^^
    ส่วน ND ดันใช้เป็นแผ่น ถือไม่สะดวกเลยค่ะ ซักวันจะไปซื้อแบบ screw-on มาใช้มั่ง

    ส่วน viewfinder magnification เอาไว้ก่อน อายเค้า อิอิ อยากเด็ก

    ReplyDelete
  16. ดีใจ รักมัลติพลายที่ให้เราได้มีความสามารถ สอบถาม อธิบาย แปะตัวอย่างได้ตามใจชอบ แถมทำให้คนมีความรู้เยอะเขียนได้อย่างเต็มที่

    เอาเลยค่ะ มาเขียนบ่อยๆ นะคะ ชอบอ่าน

    ReplyDelete
  17. ขยายใหญ่ เพิ่มพื้นที่หยุดหายใจแล้ว อ่านเข้าใจถ่องแท้เลย ^^ เออ เราคงแก่แล้วจริงๆ ต้องอ่าน big print ซะแย้ววววววววว จ๊ากกกก

    ReplyDelete
  18. อิิอิ แอบขำก่อนนอน have a nice day ครับ ^^

    ReplyDelete
  19. Good night ค่ะ คุณอ้น ขอบคุณมากๆ สำหรับวิทยาทานค่ะ
    ว่างๆ มาอีกนะ

    ReplyDelete
  20. ตามมาหาความรู้อีกรอบ อิอิ
    ตัวหนังสือใหญ่ดี อ่านสบายตา 555
    ขอบคุณอาจารย์ทั้งหลาย ^^

    ReplyDelete
  21. รวมตัวเองด้วย^^

    ReplyDelete