Explorer of Life

Monday, January 31, 2011

Troubleshoot Web Design in Dreamweaver

These are a few resources I found on the internet:

Troubleshooting Conflicting Styles and Other CSS Challenges in Dreamweaver CS3 and CS4
www.digitalfamily.com/dreamweaver/css-tutorials/css-troubleshooting.html

Troubleshooting Your Web Page - Dreamweaver HTML Tutorials
http://www.designertoday.com/Tutorials/Web.Design/868/Troubleshooting.your.Web.Page.Dreamweaver.HTML.Tutorial.aspx

How to Ask for a Site Check or Troubleshooting Assistance
http://www.dwfaq.com/tutorials/Miscellaneous/site_check_please.asp

Layers Magazine's Article
http://layersmagazine.com/troubleshooting-css-in-dreamweaver.html

Wonderhowto.com - Dreamweaver CS3 troubleshooting
http://www.wonderhowto.com/topic/dreamweaver-cs3-troubleshooting/

Sunday, January 23, 2011

Fog City Marvericks

สารคดีเกี่ยวกับผู้สร้างหนังที่อยู่ในซานฟรานซิสโก น่าสนใจมาก ดูสองครั้งแล้วยังชอบ เลยเอามาแปะไว้ให้ชมกันค่ะ คอหนังอย่าพลาด

สารคดีเรื่องนี้สร้างโดย Gary Leva ให้ข้อมูลน่าสนใจมากเรื่องความเป็นมาของภาพยนต์และกลุ่มผู้สร้างหนังที่อยู่ในซานฟรานซิสโก เบย์เอเรีย ที่มีวิสัยทัศน์และกลายผู้นำแถวหน้าในโลกมายา โดยการแหกคอกจากเงื้อมมือและการควบคุมของสตูดิโอใหญ่ๆ จนทำให้เราได้ดูหนังที่สุดยอดหลายๆ เรื่อง อย่าง The God Father, Amadeus, The Unbearable Lightness of Being, American Graffiti, Star Wars ฯลฯ

ตัวอย่างผู้สร้างดังๆ ก็อย่าง Francis Ford Coppola (The Godfathers), George Lucas (Star Wars), John Lasseter (Toy Stories), Clint Eastwood (Six Million Dollar Baby) ฯลฯ

หนังเรื่องนี้ กล่าวถึงตั้งแต่ต้นกำเนิดของภาพยนต์ ที่เกิดขึ้นเมื่อ Leland Stanford (ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด) สงสัยและพนันกับเพื่อนว่าเวลาม้าวิ่ง ขาทั้งสี่ของมันจะลอยอยู่ในอากาศ เลยไปจ้าง Edward Muybridge ซึ่งเป็นช่างถ่ายภาพที่รู้จักกันดีในซานฟรานซิสโก ให้ช่วยพิสูจน์ ภาพนี้ของ Muybridge เลยกลายเป็นต้นกำเนิดของภาพยนต์



                                                                Horse in Motion, Eadweard Muybridge, ca. 1886


ชาร์ลี แชปปลิ้น ก็เริ่มสร้างสตูดิโอทำหนังที่แถบนี้ (Niles Canyon) อยู่หลายปีก่อนที่จะย้ายไปฮอลลีวู้ดด้วย

"Gary Leva’s feature documentary explores the rich cultural heritage of cinema in the SanFrancisco Bay area. Through interviews with such filmmakers as George Lucas, Francis Ford Coppola, Philip Kaufman, Saul Zaentz, Clint Eastwood, John Lasseter and many others, Fog City Mavericks uncovers the independent spirit and unique vision that characterizes this extraordinary collection of cinema pioneers.The film also examines how the DNA of San Francisco affects – and reflects – the lives and work of its artists, mirroring the culture of individuality and innovation that makes San Francisco a unique creative community.Fog City Mavericks had its world premiere at the 50th San Francisco International Film Festival and can now be seen on the Starz Network or on DVD from Anchor Bay."





Fog City Mavericks - Part 1 of 5 from Gary Leva on Vimeo.


Fog City Mavericks - Part 2 of 5 from Gary Leva on Vimeo.


Fog City Mavericks - Part 3 of 5 from Gary Leva on Vimeo.


Fog City Mavericks - Part 4 of 5 from Gary Leva on Vimeo.


Fog City Mavericks - Part 5 of 5 from Gary Leva on Vimeo.

Tuesday, January 18, 2011

Between the Folds - From Origami to Human Protein

กำลังดูสารคดีเรื่องนี้แล้วมันสุดยอออออดดดดดจนพูดไม่ออก
ไม่เคยคิดว่า โอริกาิมิจะมีความสัมพันธ์กับคณิตศาสตร์ขั้นสูง โอ้ววววว ใครที่ขี้สงสัยเหมือนเรา ต้องดูให้ได้

Just saw this Episode on PBS' Independent Lens called "Between the Folds" and I'm speechless.  Never thought origami can have implications on solving complicated mathematical puzzles or finding cures for diseases.  Amazing!!! A must see.

More details about the episode here.


ข้อคิดจากคนใกล้ตัว

เพิ่งได้ไปอ่านข้อเขียนของเพื่อนสนิทคนหนึ่งที่เรียนมาด้วยกัน เป็นสาวสวยหน้าตาน่ารัก เรียนเก่ง ฐานะดี พอเรียนจบมหาวิทยาลัยได้ไม่นานเค้าประสบอุบัติเหตุ คอหัก พิการทั้งแขนขา (quadriplegic) แต่สาวหน้าตาจิ้มลิ้มคนนี้ไม่ได้ท้อแท้ชีิวิต เข้าทำนอง
"หากชีิวิตหยิบยื่นมะนาวเปรี้ยวจิ๊ดให้คุณ ก็เอามันไปทำน้ำมะนาวซะ" (If life gives you lemons, make lemonade)"


อ่านแล้วมีกำลังใจอย่างมาก แม้ในขณะเดียวกันจะละอายใจที่สุดว่าทุกวันนี้เราได้ใช้ "ชีวิต" ที่โชคดี และมีค่ากว่าหลายคน ที่พ่อแม่ให้มาอย่างคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ที่สุดแล้วหรือ

เพื่อนๆ คงจะได้รับส่งต่อเมลล์ลักษณะนี้มานับครั้งไม่ถ้วนในชีิวิต รู้สึกซาบซึ้งบ้าง อ่านบ้างไม่อ่านบ้าง เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งบ้าง เพราะตัวเองก็เป็น แต่เมื่อสิ่งที่เกิดขึ้นมันเกิดกับคนใกล้ตัว และเราได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ รับรู้ใกล้ชิด มีส่วนร่วม ได้เห็นพัฒนาการของการต่อสู้จนเพื่อนยืนหยัดมาจนถึงในวันนี้แล้ว มันช่างเกิดความปิติ และประทับใจอย่างบอกไม่ถูก พร้อมกันนั้นก็จำต้องย้อนมามองดูตัวเองว่า

วันนี้ เราทำดีที่สุดกับชีวิตที่มีค่าชีวิตหนึ่งนี้ แล้วหรือยัง

หมายเหตุ: เมื่ออ่านแล้ว อาจไม่ถูกจริตของท่านไปเสียร้อยเปอร์เซ็นนะคะ แต่หวังว่าคงจะมองในภาพรวมและได้รับแง่คิดในการดำเนินชีิวิตไปบ้างไม่มากก็น้อย  และเอกสารที่คัดลอกมานี้ เข้าใจว่าได้มีการตีพิมพ์ในหลายๆ ที่มาแล้ว อาจได้ผ่านตามาก่อน ตัวเองขออนุญาตตัดตอนที่มีชื่อคนอื่นมาเกี่ยวข้องนะคะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นได้ขออนุญาตเจ้าของไว้เรียบร้อยแล้ว เขาเต็มใจให้เป็นวิทยาทาน

เรื่องราวอาจจะยาวไปนิด เอาไว้มีเวลาว่างค่อยๆ อ่านไปนะคะ

------------------------------------------------
ล้อ โลก เล่น
โดย บุศรา

ได้รับเมล์จากน้องที่แสนรัก...ที่ร่วมชะตากรรมบนรถคันที่พลิกคว่ำพร้อมกับใหญ่ อุบัติเหตุเกิดเมื่อ 19 ก.ค. 2534 ขณำลังเดินทางไปสัมมนาที่พัทยา ให้ช่วยเขียนบันทึกความสำเร็จของท่านหรือข้อคิดการใช้ชีวิต  “Good  to  Great ,  Best  to  Better  จากคนดีสู่คนที่ยิ่งใหญ่  จากทำดีที่สุดสู่การทำให้ดีกว่า..”  ลักษณะเป็นข้อคิดแห่งการใช้ชีวิตหรือความสำเร็จ  พี่ก็ทั้งยินดีและแสนเต็มใจ แต่ . . . ไม่รู้จะเริ่มเอาจากตรงไหน เพราะอยู่มาได้จนบัดนี้  มันย่อมต้องมีเรื่องราวหลายหลากมากมาย  จึงถามไปตรงๆว่า  จะให้พี่เขียนแค่ 2 หน้า A4 เนี่ยเหรอคะ  สงสัยต้องบีบฟ้อนท์ให้มันเล็กกระจิ๊ดริด ซะละมังคะ  ได้รับคำตอบมาจนพี่ขำแอบหัวเราะเองดังๆ   5555   อ๋อ ถ้าพี่ใหญ่อยากเขียนอะไรอะไรที่มากกว่านี้   เขียนมาได้เลยครับ    (คงด้วยความจำใจ) 5555 หัวเราะต่อเพราะยังขำม่ายหาย  คงไม่มีใครเหมือนพี่แน่ๆ    ที่ยังหาญกล้ามาต่อรองเรื่องหน้ากระดาษที่จะเขียนให้

ก็มันเรื่องจริง นี่นา  ชีวิตพี่สุดแสนจะพิสดาร  ไม่มีใครเหมือนและก็  แทบจะไม่เหมือนใคร  (ใคร ใคร้ คราย ยยยยยยย   อยากจะมีชีวิตเหมือนพี่. . .  พี่ ก็ว่า  บ้า  . . .  แน่นอน  ก็ใครล่ะ   ใครอยากจะใช้ชีวิตอยู่บนล้อเข็น    จริงป่ะอะ ภาษาวัยรุ่นใน เฟสบุ๊คอะค่ะ  แร็งงงงงงงง)  ตัวพี่เองก็มีหลายหน้า(ที่)  มากกว่าหน้า(ที่) คนปกติ เค้าทำกันซะอีก    ใน บริษัทฯ ก็เป็น ผู้จัดการหน่วย ที่คณะแพทย์ก็เป็น ผู้ช่วยสอน ( นศพ.ชั้นปีที่ 4 -5 ตั้งแต่ปี 2537 ถึงปัจจุบัน)   อยู่บ้านก็เป็นผู้จัดการห้างฯ(หจก.ธุระกิจขนส่งเชียงใหม่ ) กิจการสานต่อของพ่อพี่เองค่ะ   แล้วยังมี   หน้า(ที่)  รับดูไพ่ดูดวงดูฮวงจุ้ย  แบบไม่เคยตั้งป้าย  ไม่เคยติดประกาศ  ไม่เคยออกโฆษณาที่ไหนเลย  แต่คนใกล้ชิด  และ  ลูกค้าบอกต่อ  รวมแล้วหลักๆก็มี  4 หน้า(ที่) แล้ว  คนปกติเค้าคงไม่ทำอย่างพี่ร็อก  ดีนะไม่มีมงกุฎที่ 18  ม่ายงั้น  ชีวิตคงขบขันซะสิ้นความดี    

4 หน้า(ที่) ออกมาอย่างนี้  จนวันนึงที่มี 24 ชั่วโมง  มันน้อยไปจริงๆ  (อยากนอนมากๆอ่ะค่ะ  แต่ก็ต้องรับแขก    รับลูกค้า  ดูแลตัวแทน ดูแลกิจการสานต่อ  แก้ปัญหาให้ผู้คน  จนปัญหาตัวเอง มะมีเวลาตรวจตราสักที คริ คริ คริ ใช้ภาษาวัยรุ่น  บางคำ เครื่องมันไม่ยอมให้พิมพ์นะคะ ภาษาจะวิบัติเพราะพี่นี่แหละ    ชิมิ  ชิมิ   )     บางครั้งไอ้ที่วางแผนไว้ก็ม่ายล่ายทำ  อ้ายที่ทำก็ม่ายล่ายวางแผน  มันมาเสียบจ่อคอหอยอยู่จนจุก  . . .  ต้องทำมังก่อง  ม่ายงั้นมังม้วยมรณา  ม่ายช่วยก็ม่ายล่าย  เร่งด่วงทั้ง ง ง ง ง ง  น้าน น น น น น นนนน  เล๊ย ย ย ย ย ยย  มังก็เป็งของมังยังงี้แล   จนมาถึงวังนี้     (สำเนียงจีน พูดม่ายชัด  ม่ายล่ายล้อครายเล่น  แต่เป็นจิงๆอ่ะค่า  )


ตั้งแต่จำความได้ 8 – 9 ขวบน่าจะประมาณนั้น เมื่อคุณพ่อพาไปฝากเงินที่ธนาคารกรุงเทพฯ (สาขาสันป่าข่อย) มีความฝันในวัยปฐมของชีวิต( 8 ขวบแรกของชีวิตถูกนิยามว่า ปฐมวัย เจ้าค่ะ )   ว่าอยากเป็นพนักงานธนาคาร  เพราะเห็นพี่สาวสวยสุดสดใสวัยเบิกบาน  ในแบงค์ใส่ชุดฟอร์มนั่งห้องแอร์แบมือนับตังค์   งานน่าทำ เพราะท่าทางสบาย  ได้อยู่กับเงิน เงิน เงิน    โตขึ้นฉันจะเป็นสาวแบงค์ให้จงได้    พอ10ขวบอยู่ ป. 4 มีเครื่องคิดเลขใช้แล้วค่ะ   ตอนนั้น นั่งคิดคำนวณตัวเลขกับพี่สาว  อยากมีเงินฝากธนาคารสักล้านนึง  จิ้มๆเอาดูจากดอกเบี้ยที่ยังไม่มีเรื่องของภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้เดือนละ 6,666.67 บาท  ป.ตรีจบมาตอนนั้นเงินเดือนข้าราชการ 1,290 บาท  อูยยยยยย  ไม่ต้องทำอะไรแล้ว  นั่งกินนอนกินดอกเบี้ยฝากก็ได้เงินเดือน  5 เท่าของปริญญาตรี จบป.เอก สมัยนั้นเงินคงไม่เยอะเท่าไรร็อก  และคนจบปริญญาเอกสมัยนั้น  น้อยมากค่ะ มีแต่ผู้นำระดับประเทศเท่านั้นที่จำได้

และแล้ว   พี่ก็เป็นเศรษฐีได้สมใจนึก  เมื่อ 1 ล้านบาทแรกในชีวิต พี่ต้องแลกเอากับการสูญเสียความสามารถ  ที่ได้รับจากการทุพพลภาพหลังอุบัติเหตุทางรถยนต์  1 ปี   เงินก้อนนี้  พี่รับมันด้วยความรู้สึกที่ยากจะบรรยายเป็นตัวอักษร  ดีใจที่ได้ทำประกันเอาไว้  เสียใจที่ทำไว้น้อยเกินไป  สะเทือนใจที่เป็นเราเองที่ได้รับเงินแบบนี้     สบายใจที่ยังพอมีไว้ให้คุณแม่ได้ใช้บ้างและดีใจที่เป็นตัวเรา ไม่ใช่น้องๆที่พี่พาไปด้วย  สะท้านใจไม่อยากให้ใครได้รับอย่างที่พี่ได้รับอีกเลย . . .   ขอวิงวอนคุณพระคุณเจ้า  ด้วยอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลพิภพ   และคุณพระศรีรัตนตรัย  ขอใครๆอย่าได้มาเป็นสมาชิกคนพิการเลยนะคะ  สมาคมนี้  ไม่หวังกำไรและไม่ต้องการสมาชิกเพิ่มเลยค่ะ  เพิ่งจะมาเห็นสมาคมฯนี้แหละค่า ที่ไม่อยากรับสมาชิกเพิ่ม   แต่ถ้าชีวิตต้องพลิกลิขิตฟ้า  ก็ยินดีอ้าแขนรับไว้เป็นสมาชิกของสมาคม   ( คนพิการแห่งประเทศไทย )  ค่ะ “ ทำไม”  คำถามปลายเปิดที่ค้นพบในภายหลังว่า เป็นคำถามที่ไม่สร้างสรรค์ เพราะเราย้อนอดีตกลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้อีกแล้ว ( แต่ตอนเป็นตัวแทน  จะถูกฝึกให้ใช้คำถามนี้กับลูกค้าเพื่อเสาะแสวงข้อเท็จจริงทางการเงิน )


Don’t ask  “WHY  ? ” ,  ask “ HOW ”

หลังอุบัติเหตุ  พี่ถามตัวเองวนเวียน 3-4 ข้อ  ทำไมวันนั้นฉันไม่ขับรถเอง  ทำไมถึงต้องเป็นเรา    ทำไม  ชีวิตฉันถึงเป็นเช่นนี้  ทำไมต้องเป็นอย่างนี้ด้วย  ทำไม และทำไม  คำถามเหล่านี้วนเวียนอยู่ในชีวิตถึงตั้ง 2 ปี จนเบื่อ  เมื่อเปลี่ยนความคิด  ชีวิตก็เปลี่ยน  จาก  ทำไม  เริ่มถามตัวเองว่า อย่างไร   เราจะดำเนินชีวิตที่เหลืออย่างไร  ที่จะทำให้คนรอบข้างเดือดร้อนกับเราน้อยที่สุด  เพราะทุกคนรอบข้าง แม่เอย พี่สาวเอย พี่เขยเอย พี่ชาย น้องชาย  เพื่อนร่วมงาน  ทีมงานในหน่วย หัวหน้าหน่วย   หรือแม้แต่คนทำงานในบ้านเดือดร้อนกันถ้วนทั่วทุกตัวตน  เพราะพี่อยู่เองไม่ได้  การทุพพลภาพถาวรโดยสิ้นเชิง  ทำให้พี่ไม่สามารถประกอบกิจวัตรหลักในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง   (เกิน  3 อย่าง  ตามกฏเกณฑ์ค่ะ)   อาบน้ำ แต่งตัว  ขับถ่าย  ไม่เป็นแบบปกติ    คนอ่าน  คงนึกภาพไม่ออก  ต้องไปดูเองที่ตึกฟื้นฟูฯ  แล้วจะเข้าใจดี ...น่าเสียดาย  บริษัทฯไม่ยักกะเห็นคุณค่า  เพียงแค่ภาพของพี่   . . .   ก็เป็นจุดขายที่แข็งแกร่งจนเหนือคำบรรยายแล้วววววววววว

CHANGED ? ? ? 

เมื่อเปลี่ยนความคิด  ชีวิตก็เปลี่ยน   จาก  ทำไม  เป็น  อย่างไร เมื่อพี่เริ่มถามตัวเองใหม่ว่า    เราจะดำเนินชีวิตที่เหลืออย่างไร  ที่จะทำให้คนรอบข้างเดือดร้อนกับเราน้อยที่สุด  พี่ก็เริ่มกลับมามองย้อนดูตัวเอง  นี่ก็  2 ปีผ่านไปแล้ว   ยังทำได้แค่นี้เอง   ถ้าจะรอให้เป็นปกติหรือกลับมาเดินได้    กว่าจะลุกนั่งบนล้อเข็นได้  บางวันปล้ำผีลุกปลุกผีนั่งเอาเป็นครึ่งวัน  เที่ยงกว่าๆพึ่งจะได้ทานอาหารมื้อเช้า    ไอ้ที่มีเหลือใช้งานได้....    ก็มีอยู่แค่นี้    จะใช้เวลาอีกนานแค่ไหนหนอ . . .   ถ้าจะรอต่อไปอีก  ต้องใช้เวลาอีกนานเท่าไรกัน . . .  หันมาดูตัวเองดีๆอีกทีซิ   . . .     “ กูยังเหลืออะไรใช้งานได้อยู่บ้างว้า ”

อย่าหาว่าหยาบคายเลยนะคะ  ถามตัวเองด้วยคำพูดนี้จริงๆ      พูดก็ยังพอรู้เรื่อง  สมองยังดี   พอคิดดี  คิดได้   คิดบวก  คิดเป็น  มือขวาที่ถนัดมันไม่ยอมทำตามได้อย่างที่เราคิด  ก็อย่าฝืนมันเลย  มือเรามันยังไม่ใช่ของเรา  นับประสาอะไรกับสังขาร  สั่งไม่ให้มันแก่  ก็ไม่ได้  สั่งไม่ให้มันอ้วน ก็ไม่ฟัง กินเอากินเอา จนหุ่นเสียทรง  ความสวยก็หายไป  ไม่คงที่  ความดีสิคงทนถาวร  อยู่ยั่งยืนตลอดกาล  มือซ้ายยังดีอยู่นี่นา  หัดเขียนมือซ้ายก็ได้นี่   เสื้อผ้าใส่เองไม่ถนัด  อย่าหัดให้เสียเวลาเลย  ให้คนอื่นทำแทน  จะว่าไปจริงๆแล้ว  ไม่มีใครอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยวบนโลกใบนี้  ถามจริง  เสื้อผ้า ซักรีดเองรึเปล่า  จ้างคนทำกันทั้งน้านนนนนนนน   รถก็มี   แต่ขับเองไม่ได้แน่  จะยากอะไร  ส่งยัยนองให้ไปเรียนขับรถซะ  แล้วก็กลับมาทำงานอีกครั้ง  ทำเท่าที่ทำได้  ทำให้ดีที่สุดเท่าที่สามารถ  เท่าไรก็เท่านั้น  เอาแค่นี้แหละ  . . .

และแล้ว 20 ปีก็ผ่านไปไวเหมือนติดปีก  พี่ก็ได้เลื่อนตำแหน่งจากตัวแทนเป็นผู้บริหารหน่วยอีกครั้ง  เด็กๆ นศพ.มักจะถามพี่เสมอว่า  พี่ผ่านพ้นช่วงที่แสนยากลำบากมาได้อย่างไร  พี่ว่า กำลังใจ  เป็นสิ่งสำคัญที่สุด  และก็เป็นสิ่งประหลาดเหมือนความรู้     . . .  ที่ต้องมีไว้เพื่อแจกจ่ายและแบ่งปัน. . .    ยิ่งให้ก็ยิ่งได้  ใน ช่วงเวลานั้น  ทุกคนรายล้อมรอบตัวพี่ต่างยกโขยงมาให้กำลังใจพี่อย่างล้นหลาม  แต่ดูเหมือนกับว่า  มันก็กองเป็นภูเขาอยู่ตรงนั้นแหละ  ไม่อาจสร้างเสริมกำลังใจแกพี่ได้เลย  จนมาวันนึง  พี่เข็นล้อไปพูดคุยกับเด็กอายุ 18 ปีชื่อสุชาติ (ตอนนั้นพี่ใหญ่อายุ 28 ปี กำลังสาวสวยสะพรั่งทีเดียวเชียว )

เค้าซ้อนท้ายจักรยานยนต์เพื่อน   คงเมาแล้วขับ  รถพุ่งไปชนเกาะกลางถนนเส้นหางดงนั่นแหละ  ตัวเค้าลอยขึ้นมาหลังกระแทกพื้น คอหักระดับเดียวกับพี่เลย แต่ด้วยวุฒิภาวะและการศึกษา   บวกกับสภาวะแวดล้อมในบ้าน  แม่เสียชีวิตแล้ว  พ่อไปมีครอบครัวใหม่   อาศัยอยู่กับน้าอยู่กับยาย  บ้านเป็นกระต๊อบเล็กๆเขตสันผักหวาน  แม่เหียะ  พี่พูดกับเค้าไม่กี่ประโยคก็จับประเด็นได้  ก็ให้กำลังใจว่า  สุชาติโชคดีจังที่ไม่เป็นแบบพี่  พี่มีเวียนศีรษะหน้ามืดทุกครั้งที่นั่งล้อเข็น  กว่าจะนั่งได้แต่ละทีใช้เวลาเกือบ  2 ชั่วโมง  พอเริ่มนั่งได้ที่หน้าหายมืด  ก็ถึงเวลาลงนอน  ผุดลุกผุดนั่งจนไม่ต้องฝึกอะไรก็หมดไปวันนึงแล้ว   เป็นเช่นนี้จริงๆ ใน ใจลึกๆแล้ว  ไม่ได้รู้สึกดีหรืออะไรหรอกค่ะ  เพียงแค่ตระหนักรู้ว่า  ตัวเราเองนี่ยังโชคดีกว่าน้องไม่รู้กี่ร้อยกี่พันเท่า ประกันก็มี  ความรู้ก็มี  พี่น้องก็มี  ครอบครัวก็มี เพื่อนๆก็มี   ทีมงานก็มี  ลูกค้าก็มี  คนที่รักเราก็มี  คนที่เรารักก็มี  ทุกอย่างล้นหลามเหลือเฟือ  อุดมสมบูรณ์ไปหมดทั้งกัลยาณมิตรและศักยภาพ   หลายๆอย่างที่เรียงรายรออยู่รอบๆตัวเรา     เรายังโชคดีกว่าใครๆอีกนับไม่ถ้วน  กำลังใจก็เลยมา 

เพราะรู้ดีว่าเพียงคำพูดไม่กี่ประโยคของพี่  ก็ทำให้สุชาติฝึกเอาฝึกเอาแบบสู้ตาย  เพราะเค้าไม่มีเวียนศีรษะ  เค้าฝึกสารพัดท่าให้พี่ใหญ่ดูตาละห้อย  ว่า. . .   เค้าไม่มีเวียนหัวหน้ามืดตาลายเลยสักนิด  เค้าทำให้พี่ใหญ่  ชม ได้ ว่าเค้าเก่ง  มีคุณค่า  น่าเอาเป็นแบบอย่าง  เพียงแค่นี้  เค้าก็มีกำลังใจที่จะฝึกทำกายภาพบำบัดอย่างสุดแรงเกิด   เพราะเค้ารู้ว่า” ชีวิต ” เค้ายังมีค่าในสายตาของ พี่ใหญ่  ก็แค่นั้น   . . .


พี่พึ่งรู้แจ้งเห็นจริง ณ วินาทีนั้นเองและรู้ได้ด้วยตนว่า  กำลังใจ  นี่เป็นเรื่องประหลาด  ยิ่งให้  ก็ยิ่งได้  ไม่ต้องเชื่อพี่หรอกนะคะ  เอาไปลองทำดูหนูทำได้ ง่ายๆค่ะ    ( วันนี้  คุณให้กำลังใจใครบ้างหรือยังคะ )  และนับแต่วันนั้นเป็นต้นมา  พี่ก็ให้กำลังใจคนไปทั่ว แม้แต่คนปกติที่ครบ 32 บางครั้ง  บางสถานการณ์ กับคนบางคน  คนเราย่อมก็มีขาดกำลังใจ  ท้อแท้  หมดหวัง  กับบางเรื่องบางอย่าง  พี่ก็ชี้แนะแนวคิดและเป็นกำลังใจให้ฟันฝ่า  มาจนพี่แกร่งเกินไปแล้วละกระมัง  เพราะให้เป็นประจำจนรับมาล้นเหลือ  เชื่อหรือไม่  พี่ให้กำลังใจผู้คนทุกทุกวันจนเป็นนิสัยที่เคยชินไปแล้ว   ใครที่ได้เคยคุยกับพี่คงรู้ดีว่าพี่หมายถึงอะไร.......   จริงไหมล่ะ  “    

'ชะตา  ฟ้า . . . ลิขิต
ชีวิต . . . เราคือผู้เลือก
โอกาส . . . เราคือผู้สร้าง
ความสำเร็จ . . .เราคือผู้กำหนด
ชีวิต . . . ลิขิตเอง '                             

ประโยคนี้  ผ.ศ. ดร. อ.อภิชนา  โฆวินทะ จะให้พี่เขียนและอ่านพร้อมบังคับให้ นศพ. ฟังและจดลงในหนังสือที่ใช้เรียนหลักสูตร REHABILITATION  for Spinal Cord Injury  อยู่ทุกคลาส  จนพี่ต้องแอบถามว่าอาจารย์ไม่เบื่อหรือคะ  ใหญ่พูดวนเวียนซ้ำซากมา13-14 ปีแล้ว  นศพ.อาจเวียนกันมาฟัง  แต่อาจารย์ฟังทุกเดือน  อาจารย์บอกพี่ว่า  ทุกครั้งที่ได้ยิน  ก็ได้ข้อคิดที่ต่างกันไป  ทำให้ตระหนักรู้ในสิ่งที่แตกต่าง  ไม่เบื่อหรอก  . . . .  ชอบฟัง  อาจารย์พูดเอาใจรึเปล่าหน๊อออออออออ    หลอกให้ดีใจเล่น อิ อิ อิ    แหะ  แหะ  ไม่เช่นนั้นหรอก  พี่เข้าใจอาจารย์ดีค่ะว่าอาจารย์หมายความเช่นนั้นจริง 

คนที่ประสบความสำเร็จ  เค้าไม่ต้องมีถึง 100 %  อย่างที่คนอื่นๆ  ต้องมีกัน  แต่เค้าใช้สิ่งที่เค้ามี   ให้ครบ 100 % ต่างหากค่ะ          ก่อนที่พี่จะกล้าก้าวออกสู่   สาธารณสถาน   พี่ถามตัวเองหลายครั้งหลายหน  ว่าเรา อาย  อะไร   นั่งบนล้อนี่ต้องใช้ความกล้าหาญในระดับนึงนะคะ  ถ้าเด็กๆเค้ามองมานานๆ  บางทีพี่ก็ไม่กล้าสบสายตา  “ ความรู้ก่อให้เกิด ความเชื่อมั่น ”  ประโยคนี้ลอยวนเวียนในความคิด  ทำให้ต้องถามตัวเองว่า  เราไม่รู้อะไร เราถึงต้องอับอายผู้คนเวลานั่งอยู่บนล้อ เพราะขาดความมั่นใจ   นั่งล้อเข็นแล้ว  อาย   อะไรน่ะเหรอ  ลองกล้าหาญมานั่งล้อเข็นในที่สาธารณะดูสักหนเอาไหมคะ ( แม้แต่คุณแม่ของพี่  ก็ยังไม่ยอมนั่งเลยค่ะ  5 5 5 )   จะได้รับรู้ถึงความรู้สึกนั้นว่ามันเป็นเช่นไร  ไม่ต้องไปไหนไกล  ท้าให้ลองมานั่งล้อเข็นแค่ในห้าง โรบินสัน ก็พอแล้ว  ใครจะกล้าลองดูไหมคะว่ามันน่าอับอาย  และต้องใช้ความอดทนขนาดไหน  อะไรจะปานนี้   ในความเป็นจริงแล้ว  ไม่มีคนพิการในสังคมหรอกค่ะ   มีแต่สังคมแหละที่พิการ    เพราะไม่ยอมรับอารยสถาปัตย์    ที่จะอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ชีวิตบนล้อให้ไปไหนมาไหนได้แบบไร้สิ่งกีดขวาง 

แล้วพี่ก็หาคำตอบได้ในที่สุด   ไอ้ที่อับอายน่ะเพราะไม่ รู้ว่าตัวเองเป็นคนพิการ   ไม่ยอมรับกับตนเองว่า  อุบัติเหตุ คือสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้  เมื่อเกิดขึ้นกับตัวเราสาหัสถึงขั้นนี้แล้ว  เรามีวิธีรับมือและจัดการกับมันอย่างไร  และที่น่าอับอายยิ่งไปกว่านั้น  บริษัทฯที่พี่สังกัดอยู่  เป็นบริษัทฯประกันชีวิตประกันอุบัติเหตุ  แต่ผู้บริหารระดับสูงมิเคยได้รับรู้หรือรับทราบว่า  บริษัทตนเองมีคนพิการร่วมทำงานอยู่ด้วย   55555  น่าขันหรือน่าอาย  ยังงง  งง  กับชีวิตตนเองค่ะ   เพราะไม่เคยได้รับการส่งเสริมหรือสนับสนุน    แม้แต่จะให้กำลังใจหรือเป็นกำลังทรัพย์สนับสนุนส่งเสริมมูลนิธิคนพิการของ ภาควิชา   หรือองค์กรคนพิการสากลใดๆที่พี่ไปสัมผัสมาเลย  แม้แต่สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย  มีใครเคยรู้จักกันบ้างไหม   น่าแปลกแต่จริง  หรือเพราะพี่ไม่เคยอ้าปากบอกกล่าวเล่าขาน   แต่ จะลองดูสักหน  เพื่อคนพิการไทยค่ะ

พี่มักจะบอกทุกคนที่พี่รู้จักเสมอว่า  ในได้ . . . มีเสีย . . . และในเสีย . . . ก็มีได้ . . . (งั้นเค้าจะเรียกได้เสียรึ  จริงมะ)  ทุกครั้งที่เราได้อะไรมาอย่างหนึ่ง   เรามักต้องสูญเสียอะไรไปอย่างนึงเสมอ  และทุกครั้งที่เราเสียอะไรไป  เรามักจะได้อะไรบางอย่าง. . .  กลับคืนมาเช่นกัน . . .  ไม่มีใครในโลกนี้ที่ได้อะไรมาโดยที่ไม่เสียอะไรไป  และไม่มีใครอีกเช่นกันที่เสียอะไรไปแล้ว  ไม่ได้อะไรกลับคืนมา    เสียเวลา  ได้ปัญญาได้ความรู้    เสียรู้   ก็  ได้  เห็นน้ำใจคน   หรือแม้แต่ตอนที่เราเสียผู้เสียคน   เราก็ยัง  ได้  รับบทเรียน  ณ  วันเวลาที่พี่สูญเสียความสามารถไปบางส่วนนั้น   พี่เพียรพยายามหาสิ่งที่พี่สมควรจะได้รับ มาชดเชยทดแทนการสูญเสียนั้นอย่างเต็มที่  และพี่ก็  “ได้”  รับบางอย่างกลับคืนมาแล้วเช่นกัน  สิ่งที่พี่ ได้ รับนั้น  คือ “ ความอดทน”  ที่ไร้ขีดจำกัด ค่ะ  พี่ได้รับมันมาจนสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก  อด  ได้  ทน  ได้   ในทุกสถานการณ์   มันก็คุ้มค่ากับสิ่งที่พี่ต้องสูญเสียไปอยู่แล้ว

ในฐานะผู้ช่วยสอน นศพ.ชั้นปีที่ 4   คณะแพทยศาสตร์  มช .  ในภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูฯ  สืบเนื่องจากแพทย์ผู้ดูแลพี่ตั้งแต่เริ่มฟื้นฟูฯ ในภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูเห็นว่า พี่สามารถสร้างกำลังใจให้แก่ตนเองและคนรอบข้าง  มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ดีเกินเป้าหมายที่ทางการแพทย์กำหนด แบบแปลกประหลาด  ไม่มีใครเหมือน  และไม่เหมือนใคร  นับเป็นแบบอย่างอันดีที่ทั้ง นศพ. และผู้ป่วยพิการควรเห็น  ควรดู  และควรทำเป็นเยี่ยงอย่าง เป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนอีกหลายๆคนที่ต้องกลายมาเป็นคนพิการควรเรียนรู้  เกียรติคุณดังกล่าว  แม้มิเคยได้รับการยกย่องจากหน่วยงานใดๆจากใครต่อใครที่ไหนก็ตาม   หากนับเป็นความภาคภูมิใจเหนือถ้วยรางวัลที่พิชิตได้จากการทำงานกับ
บริษัทฯ  เพราะเป็น โอกาสเดียวที่ตัวพี่   ได้นำความรู้จากห้องวิชาการ    เรียนรู้เอาประสบการณ์ของคนสำเร็จ... มาถ่ายทอดทัศนคติบวกของการสร้างกำลังใจ  และแรงบันดาลใจในการต่อสู้กับความพิการของตนเองอย่างไม่ย่อท้อ และอดทน  จนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต  ทั้งของตนเองและคนรอบข้างให้ดีกว่าเดิม  ที่สำคัญที่สุด  การเลื่อนตำแหน่ง...แต่ละครั้งจาก ตัวแทน ไปถึงระดับผู้จัดการหน่วย  พี่ใหญ่ผ่านกฎเกณฑ์แบบStandard Qualified  ตามมาตรฐาน  โดยมิเคยขอผ่อนผันในเรื่องใดๆทั้งสิ้น  ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข  ผลผลิต  จำนวนตัวแทนในหน่วย   Persistence หรือกระทั่ง ACTIVE ของทีมงาน    ( ไม่ใช่อะไรหรอกค่ะ  ขอแล้วเค้าก็ไม่ให้น่ะค่ะ  เลยไม่ได้ขอผ่อนผันอะไรใดๆเลยกะ บริษัทฯ  หุ หุ หุ)                               

นอกจากนี้  พี่ใหญ่ยังเป็นที่ปรึกษาอาสาพิเศษ ( PEER  CONSULTANT )   ให้แก่แพทย์และผู้ป่วย ในตึกฟื้นฟูฯ   ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูฯ    คณะแพทยศาสตร์  มช.  ที่ปรึกษาพิเศษนี้  มีหน้าที่พูดคุยกับผู้ป่วยพิการทั้งใหม่และเก่า  ที่อยู่ในช่วง หดหู่ซึมเศร้า  อาการผู้ป่วยหลักๆคือหมดกำลังใจ  ไม่ยอมฝึก  ขาดแรงบันดาลใจ  ไม่อยากพูด  ไม่อยากคุย  ไม่อยากพบปะกับใครๆ  ไม่อยากทำอะไรทั้งสิ้น (ประมาณว่า กูอยากอยู่เงียบๆคนเดียว  ใครอย่ามายุ่งกะกู งั้นแหละค่ะ )   อยากนอนเฉยๆ อยากตาย  ไม่ยอมให้ความร่วมมือกับทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัด   จนขั้นตอนการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายชะงักงัน    เมื่อแพทย์หมดหนทางจะฟื้นฟูให้ได้รุดหน้ากว่านี้ ( เพราะคุณหมอเดินได้นี่  คุณหมอไม่ต้องนั่งบนล้อเข็นอย่างผม คุณหมอจะมาบอกให้ผมทำนู่น  นี่  นั่น  ผมไม่ทำหรอก  ประมาณนี้แหละค่ะ )   ทีมแพทย์และพยาบาลก็จะโทรมาขอความอนุเคราะห์  ให้พี่ใหญ่ช่วยไปพูดคุยกับผู้ป่วย  สักครั้งหรือ 2 ครั้ง  จนเค้าสามารถเอาชนะใจตนเอง   ยอมรับความจริง  และผ่านพ้นช่วงสาหัสสากรรจ์มาได้    เหนือสิ่งอื่นใด  สิ่งต่างๆที่พี่ทำเหล่านี้จะเป็นเสมือนสัญญลักษณ์แทนคำพูด  ที่จะให้ความหมาย  แทนคำว่า  “ ขอบพระคุณ ” ที่พี่ขอมอบแด่ บุคคลากรทุกระดับชั้นในภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูฯ  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ที่ให้การฟื้นฟู  ให้ความรู้  ให้การใส่ใจดูแลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของพี่ และเครือญาติ อย่างดี   จนทำให้พี่มีวันนี้ได้อย่างน่าอัศจรรย์                

เพียงแค่การที่ตัวของพี่ใหญ่เอง  ได้อยู่ในสายตาของบุคคลอันเป็นแรงบันดาลใจของตนเองแล้ว  แม้จะยังคงมิได้รับความสำเร็จในงานที่ตนเองกระทำตามภาระหน้าที่และความรับ ผิดชอบต่อทั้งบริษัทฯ  องค์กร  ทีมงาน  สายงาน  ลูกค้า  ตัวแทน ปีแล้วปีเล่า  ฉันใด  พี่ใหญ่เองไม่เคยแม้สักครั้งที่จะถือว่าตัวเอง  “ ล้มเหลว ”    เพราะนิยามแห่งความสำเร็จของพี่นั้น   มิเคยยินยอมให้ผู้ใดเป็นคนกำหนด  ตราบใดที่พี่ใหญ่มีความรู้สึกที่ดี  ที่มีให้แก่ตนเอง  เมื่อนั้นฉันใด    พี่ถือว่าตนเอง “ สำเร็จแล้ว”          ( ออกจะ” หลง”  ตัวเอง  ไปมากหน่อย   แต่ช่วยไม่ได้จริงๆ  มันเป็นความรู้สึกจากจิตใจที่ไม่อยากปกปิดให้ผิดศีล น่ะค่ะ )             

ความสำเร็จที่ได้จากการทำงาน    ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการหน่วย 1 ธ.ค. 2548 ซึ่งนับเป็นการเจริญเติบโตและความก้าวหน้าในอาชีพ  ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือการที่มิได้สำเร็จแต่เพียงผู้เดียว  หากแต่รายล้อมด้วยทีมงานและผู้ร่วมงานที่มีน้ำใจ  มีหัวใจของการบริการ  มีคุณธรรม  มีจริยธรรม  มีความรัก  มีความสามัคคี  มีความประพฤติดี  มีความกตัญญู  มีความซื่อสัตย์  ขยันอดทน  มีการแบ่งปัน  มีการพัฒนา มีความเป็นมืออาชีพ  รู้ลึก  รู้จริงในสิ่งที่ทำ  รู้วิธีทำ  ทำซ้ำได้เสมอ  ไม่หยุดที่จะพัฒนาเรียนรู้ในสิ่งที่ตัวเองทำ  สำคัญที่สุด ต้องเป็นสมาชิกสมาคมที่ตนสังกัด ( ใน เอไอ เอ พี่ก็เป็นสมาชิกสมาคมตัวแทนประกันชีวิต  ในฐานะคนพิการพี่ก็เป็นสมาชิกสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย พี่เป็นมืออาชีพทั้ง 2 อย่าง จริงๆค่ะ  ตัวแทนก็มืออาชีพ  พิการก็พิการอย่างมืออาชีพนะคะ พิการมืออาชีพต้องช่วยเหลือคนพิการด้วยกันค่ะ   คนดีมืออาชีพเป็นอย่างไรหนออออ    อ๋อ . . . ก็ต้องช่วยเหลือผู้อ่อนแอกว่า  ผู้ด้อยกว่าตน  อะไรทำนองนั้นมังคะ)   และทุกๆคนต่างก็มีชีวิตที่เปี่ยมด้วยคุณภาพ  ล้นด้วยคุณค่าในศักยภาพของตนเอง  ความสำเร็จที่ได้รับในการดำรงชีวิต    คือการค้นพบความสามารถพิเศษที่ดีที่สุดของตัวเองและประยุกต์ใช้มันให้เกิด ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพกับบุคคลอื่น  สร้างแนวทางการดำเนินงานโดยใช้การติดต่อสื่อสาร ( ทางการพูด  เจรจา  ทางเอกสาร  ทางการสื่อสารในทุกระบบ )  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด  สามารถชี้แนะและนำทางได้อย่างแท้จริง  การบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นและสังคม    โดยลักษณะงานที่ทำเกี่ยวกับธุรกิจประกันชีวิต  ก็เอื้ออย่างยิ่งต่อการสร้างโอกาสที่จะได้บำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นและ สังคมอยู่แล้ว  เพียงแต่มิได้อยู่ในรูปแบบของการช่วยเหลือบริจาคด้านเงินทองทรัพย์สิน  หรือมีส่วนร่วมในองค์กรการกุศลหรือมูลนิธิเพื่อคนพิการต่างๆ   หากโดยลักษณะงาน  ประกันชีวิตคือวิธีการสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว  เป็นระบบเก็บออมที่มีประสิทธิภาพ  ให้ประโยชน์ด้านสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล  คุ้มครองคุณค่าชีวิต  คุ้มครองธุรกิจ  คุ้มครองรายได้    และหากโดยตำแหน่งที่ต้องพัฒนาคนในองค์กรให้เติบโตก้าวหน้า  ก็คือการมอบโอกาสให้คนในสังคมได้มีการเปลี่ยนแปลงชีวิตในทางที่ดีขึ้น มีการพัฒนาด้านคุณภาพในการดำเนินชีวิต  มั่นใจที่สุดว่า  นี่แหละคือวิธีการบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นและสังคมโดยองค์รวม พี่ ยังคงมีความหวัง  ยังคงฝันและฟันฝ่าอย่างแรงกล้าและไม่ท้อถอย   

หวังว่าสักวัน. . . . . สักหนึ่งครั้งในชีวิต . . .  การพิชิตใจคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง   ต้องสำเร็จ   แต่ ก็อย่างว่า  ในบริษัทฯที่ตนเองทำงานอยู่ยังมิเห็นความสำคัญฉันใด  จะไปหวังให้มูลนิธิฯ  หรือองค์กรอื่นๆ  แลเห็นความสำคัญ   คงเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก   ปาฏิหารย์อาจมีจริง

Henri Cartier-Bresson - The Modern Century


Recently, I went to a retrospective exhibition of Henri Cartier-Bresson's lifetime work called - The Modern Century. It was very comprehensive and very informative. Here are the notes on the exhibition by San Francisco Museum of Modern Art (MOMA) -- You can view complete text and pictures at SFMOMA website.

Introduction

An innovative artist, trailblazing photojournalist, and quintessential world traveler, Henri Cartier-Bresson ranks among the most accomplished and original figures in the history of photography. His inventive images of the early 1930s helped define the creative potential of the medium, and his uncanny ability to capture life on the run made his work synonymous with "the decisive moment." This major retrospective offers a fresh look at Cartier-Bresson's entire career, revealing him as one of the great portraitists of the 20th century and one of its keenest observers of the global theater of human affairs.

Henri Cartier-Bresson began traveling in 1930, at the age of twenty-two. For nearly half a century he was on the road most of the time, and the geographical range of his work is notoriously wide. Its historical range is just as broad—from ancient patterns of preindustrial life to our contemporary era of ceaseless technological change. In the realm of photography Cartier-Bresson's work presents a uniquely rich, far-reaching, and challenging account of the modern century.

The two most important developments in photography in the first half of the twentieth century were the emergence of lasting artistic traditions and the rise of mass-circulation picture magazines. Henri Cartier-Bresson (1908–2004) was a leading figure in both domains. In the early 1930s he helped to define photographic modernism, using a handheld camera to snatch beguiling images from fleeting moments of everyday life. After World War II he turned to photojournalism, and the magic and mystery of his early work gave way to an equally uncanny clarity and completeness.

Before the dominance of television, most people saw the world through the eyes of picture magazines. Early in Cartier-Bresson's postwar career, his photographs of Gandhi's funeral and the Communist revolution in China were journalistic scoops. But the vast majority of his photographs describe things that happen every day, for his essential subject was society and culture—civilization. This retrospective exhibition—the first since the photographer's death—draws extensively on the collection and generous cooperation of the Fondation Henri Cartier-Bresson, in Paris.


Early Work

The quickness and mobility of handheld cameras spawned one of the most fruitful artistic traditions that took shape in photography between the two world wars. These new cameras didn’t merely fix the motion of the subject; they also freed the photographer from virtually all constraints. With a camera in his hand and a few rolls of film in his pocket, Cartier-Bresson never needed to decide if he was working or if he was just living.
Cartier-Bresson was a master of two leading strategies of photography in the 1920s—celebrating action by freezing it and turning the world into elegant patterns. His most original early pictures transform reality even more decisively. They reinvent the life of the street as Surrealist theater -- surprising, mysterious, and compelling than the world we know.


After the War, End of an Era

Cartier-Bresson’s work of the early 1930s is one of the great innovative episodes of modern art. It belongs to a world in which Surrealism was still a fresh adventure, before the worst of the Great Depression, before the rise of Fascism and the demise of Republican Spain, and before the Nazi occupation of France and Cartier-Bresson’s own harsh experience of World War II.

Things were very different after the war—and so was Cartier-Bresson. He found in photojournalism a productive framework for his passionate engagement with the rapidly changing world. The pictures in this section are typical of his new style; each frames a small group of characters in a scene of stunning simplicity.

Old Worlds: East

Many of Cartier-Bresson’s pictures could have been made centuries ago, if he and photography had existed then. They lovingly describe age-old patterns of life, untouched by modern industry and commerce. This and the following two sections explore that theme in Asia, throughout Europe and the West, and in the photographer’s native France.
Except as a prisoner of war, Cartier-Bresson never endured the hard physical labor that was unavoidable in the ancient societies he so much admired, and after a youthful adventure in Africa he never again photographed in his own country’s colonies. But his keen attention to particulars redeems the strain of romantic nostalgia in his work, and his vision of premodern societies is but one anchor of a historical panorama that reaches well into our era of contraptions and consumerism.

Old Worlds: West

Cartier-Bresson photographed many landscapes, but he may never have made a picture of untouched nature. All of the places he describes have been inhabited and shaped by man, and each bears the mark of a particular culture or cultures, which in turn may have been shaped by the land.

Old Worlds: France

France belongs to the West, of course. But Cartier-Bresson’s exploration of his own country yielded a harvest of photographs so abundant and vital that it deserves special attention.

New Worlds: U.S.A.

Cartier-Bresson photographed more extensively in the United States than in any other country except his native France, but his American pictures are among his least well known.
In principle, the clarity and balance of Cartier-Bresson’s postwar style went hand in hand with a posture of neutral observation. But his image of the United States incorporates a distinctly critical thread, alert to American vulgarity, greed, and racism.

New Worlds: USSR

Cartier-Bresson was the first Western photographer to be admitted to the Soviet Union after the death of Josef Stalin, in 1953. The pictures he made in the summer of 1954 were news in themselves, and several magazines reproduced quite a few of them. When he returned to the U.S.S.R. nearly two decades later, in 1972 and 1973, his image of Soviet life developed a new dimension—grim, barren, and bleak.

Photo-Essay: The Great Leap Forward, China. 1958

The photo-essay—a group of pictures about a single subject, usually accompanied by captions—was a staple of photojournalism throughout Cartier-Bresson’s career. This and the following section present such essays in abbreviated form.
In 1958 Cartier-Bresson undertook an ambitious campaign to photograph the Great Leap Forward, Mao Tse-tung’s intensive program of forced industrialization. He worked steadily for four months in China, and although he was closely monitored by the authorities, he returned with a very substantial body of work, rich in concrete detail.
The story was widely disseminated through magazines in Belgium, England, France, Germany, Italy, the Netherlands, and Switzerland, as well as the United States—usually with splashy color spreads similar to those in the issue of Life presented here. In 1964 nearly fifty photographs made in 1958 appeared in Cartier-Bresson’s small paperback book on China, but otherwise the project has received little attention.

Photo-Essay: Bankers Trust Company, New York. 1960

Around 1960 the informal style of photographs made with handheld cameras, popularized by magazines, also began to appear in the annual reports of American corporations. Many freelance photojournalists welcomed the new source of commissions, and an assignment to illustrate the 1960 annual report of Bankers Trust Company granted Cartier-Bresson access to the inner workings of the bank, which otherwise would have been hard to penetrate.
Neither Chinese Communism nor American capitalism conformed to Cartier-Bresson’s idea of a just society. Yet he carefully studied specific circumstances and activities and described them patiently without resorting to rhetorical effect. Only the bosses are regarded with a skeptical eye.

Portraits

Cartier-Bresson was one of the great portraitists of the twentieth century. Throughout his far-flung travels he was alert to every opportunity to add to his pantheon of notable people—mostly artists and writers—which eventually numbered nearly one thousand.
He preferred to picture his sitters at home. When asked how long the session would take, he liked to answer, “Longer than the dentist but shorter than the psychoanalyst.”

Beauty

Cartier-Bresson’s essential subject was social life. But he also had a keen eye for beauty—especially in women—and for photography’s capacity to produce lovely images from whatever is at hand, no matter how banal or ugly.

Encounters and Gatherings

The street is a theater, admission free. Our clothing, faces, and gestures tell the stories of our lives—as individuals and as members of communities. The handheld camera—nearly as quick as the eye—is an ideal tool for observing the spectacle.
Cartier-Bresson’s talent stood on two legs—one photographic, one human. He was exceptionally good at anticipating how the world would be transformed as it passed through the lens into the image. And wherever he found himself—among peasants or kings, saints or villains—he was quick to grasp who was who and what was what.

Modern Times

More than two centuries ago, Britain’s Industrial Revolution marked one of many beginnings of modernity. Born when the automobile and the airplane were still in their infancy, Cartier-Bresson never lost his affection for old traditions, yet he did not shrink from change. For him modernity arrived in the 1950s, with the triumph of consumption and leisure, and his later pictures fluently describe its vulgar depredations, messy accumulations, and sprawling hedonism.

------------------------------------------


"Photographers deal in things which are continually vanishing and when they have vanished there is no contrivance on earth which can make them come back again."

-Henry Cartier-Bresson-

Monday, January 17, 2011

Henri Cartier-Bresson – The Modern Century

http://www.streetphotothailand.com/profiles/blogs/henri-cartierbresson-the
ไปเขียนบล้อกเรื่องไปดูนิทรรศการภาพถ่ายของ Henri Cartier-Bresson ไว้ที่บ้านโน้น เผื่อใครสนใจนะคะ


Trip Idea - Northern Thailand on a Budget

ท่าตอน เชียงใหม่ - แม่สลอง เชียงราย by itsara2paw.multiply.com



"เป็นทริปที่คิดหน้างานจริงๆๆไปเที่ยวไหนคิดกันคืนต่อคืนเลย วางแผนกันล่วงหน้าไม่มีเลยกับคำๆนี้ แต่สนุกมากมาย ชอบๆๆๆ รายระเอียดที่โพสใน ชมไทยนะครับ
วันหนึ่งได้นัดกันคร่าวๆๆว่าจะเที่ยววังเวียงแต่ด้วยหลายๆๆคนไม่ว่าง ก้อเลยเปลี่ยนแพลนไปเที่ยว
ทริปนี้เลยให้มอร์เป็นคนจัดหาทริปมาสังเงยให้ว่ามีที่ไหนน่าไปบ้าง จัดไปจัดมาลงตัวกันที่ เชียงของ
ดอยแม่สลอง แม่จัน ท่าตอน แต่ไปจองตั๋วรถแล้วเต็มเลยต้องคิดใหม่เลย ไม่คิดว่าคนจะเยอะขนาดนี้
เลยเปลี่ยนนั่งรถไปที่เชียงใหม่ก่อน แล้วต่อรถไปที่ท่าตอน แม่จัน ดอยแม่สลอง และจะไปนอนที่แม่สาย
โทรจองตั๋วกลับ กทม.ที่นั่น แต่แล้วก็เปลี่ยนใจอีกเพราะ ธรรมชาติคาดเดาไม่ได้เลยจริงๆๆฝนตกตลอด
เลยเปลี่ยนแพลนใหม่(อีกแล้ว)มานอนที่เชียงใหม่
น่าจะมีไรให้เที่ยวมากกว่าการไปนั่งๆๆนอนๆอยู่ในห้องที่แม่สายเพราะฝนตก เลยลงจากดอยแม่สลอง
ไปต่อรถเข้าเชียงรายที่แม่จัน ต่อไปเชียงราย นั่งรถจากเชียงรายไปเชียงใหม่ (นั่งรถทั้งวัน 555)
อย่างที่มอร์โพสทริปนี้เป็นทริปหารเฉลี่ยคนละ 8000 บาทแต่ด้วยความที่ว่าเป็นทริปเซอร์เวย์ไปในตัวและช่วง
หน้าโลว์ เลยลดเหลือ 3000 บาท แต่ก็ไม่พอด้วยความที่ว่าทั้งกินทั้งนั่งรถจึงเก็บเพิ่มอีกคนละ 500 บาท
รวมทั้งหมดคนละ 3500 บาท ไปดูค่าใช้จ่ายกันดีกว่าเผื่อมีคนแกะรอยตาม(จะมีเหรอ 555)
เงินกองกลางทั้งหมด 3500*5 = 17500

วันที่ 3-4 ก.ค 52
ค่ารถ VIP 24 ที่นั่ง บขส.999 806*5 = 4030
ค่ารถแดงไปท่ารถประตูช้างเผือก-ท่าตอน 20*5 =100
ค่ารถไปท่าตอน 90*5 = 450
ค่าอาหารกลางวัน 290
ค่าที่พักท่าตอน (การ์เด้นโฮม) 1 ห้อง*500 1000
ค่า coffee break 165
ค่าอาหารเย็น 155

วันที่ 5 ก.ค 52
อาหารเช้า 360
ค่ารถท่าตอน-ดอยแม่สลอง 60*5 300
อาหารกลางวัน 590
อาหารเย็น 260
ค่าที่พัก(little home guest house) 1 ห้อง*500 1000
เสื้อกันฝน 75

วันที่ 6 ก.ค. 52
อาหารเช้า 380
ค่ารถดอยแม่สลอง-แม่จัน 60*5 300
ค่ารถแม่จัน- บขส.เก่าเชียงราย 20*5 100
ค่ารถบขส.เก่า-บขส.ใหม่เชียงราย 10*5 50
ค่ารถเชียงราย-เชียงใหม่ VIP 263*5 1315
ค่ารถกลับ กทม. 603*5 3015
ค่ารถแดงไปที่พัก 20*5 100
ค่าที่พัก บ่อทองลอล์ด 1*700 1400

วันที่ 7 ก.ค.52
ค่าอาหาร CMU 480
ค่ารถแดงไป-กลับที่พัก 40*5 200
ค่าอาหาร 395
ค่ารถแดงระหว่างอยู่เชียงใหม่ 300

รวมเงินทั้งหมด 16810
เงินคงเหลือ 690
กลับกทม.

ระหว่างการเดินทางยังมีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมาย สนุกสนานกันไป ชิวๆๆ ฝนตก คิลเลอร์ ไมตรีจากเจ้าของบ้าน
ไปว่าที่ร้านถูกใจด้วย ว่าแล้วก้อไปดูรูปกันเลยดีกว่า งานนี้มีสมาชิกเซอร์เวย์ทั้งหมด 5 คนได้แก่
1.มอร์ หัวหน้าทริป
2.เจ๊รัตน์ ผู้ใจง่ายชวนไปตั้งแต่เจอที่เขาใหญ่
3.เจ๊ใหม่ นางแบบเกาหลี(หรือเปล่าเดี่ยวได้ดูกัน :lol
4.เปเป้ เพิ่งเคยออกทริปด้วยกันครั้งแรกสาวน้อยร่างเล็ก
ที่แบกเป้ใหญ่ ที่คู่ใจไปขึ้นเขา อิอิอิ
5.วัตต ข้าพเจ้าเอง เป็นคนเก็บตังค์กองกลาง

ปล.ว่าแต่ยังไม่ได้ค่าเลนส์เท่าไหร่เลยนะลูกทริปทั้งหลาย เจอกันใหม่ทริป ธ.ค.นะ
ราคาเต็มเพราะช่วงหน้า Hi 555

http://www.chomthai.com/forum/view.php?qID=2214

Saturday, January 15, 2011

Chiang Mai - Beautiful Boutique Hotels

Here, I collect interesting photoblogs about places to stay and visit to Chiang Mai and the North of Thailand:

1. Travel in style, boutique hotels and western lifestyle in Nimmarnhemin - read details in Thai "แอ่วแม่แจ่ม เมืองลับแลแห่งเชียงใหม่#1" - photos by Sorrayuch



Hub53 Hotel

2. "New Year in Chiang Mai" by bluejinx"




Kaomai Lanna Resort and Hotel

Wonderful Pictures of Chiang Mai, Thailand

These are photos I collected from the internet. I will keep adding to the collection as I found more. Please come back to visit often.


lamps by xphotography


View of City Lights from Doi Suthep by xphotograpy


A Temple by EVO's Photo


Fog in the Mountain at Parng Oong (ปางอุ๋ง) by EVO's Photo


Countryside by EVO's Photo


On the road from Chiang Mai to Mae Hong Son - Parng Oong (ปางอุ๋ง) by borntobe09


The Mae Ya Waterfall at Doi Intanond by Thanes Photography


Architecture by Ratpol


Flowers of Doi Intanond by Ratpol


The Road to Intanond by Ratpol


A Novice by Kitskorn


Handicrafts (lacquorware) by Kitskorn


Street scene of Chiang Mai by Kitskorn


Rice Field at Mae Jam, Chiangmai by ArmyboyCG


Rice Paddy by ArmyboyCG


Local Bus, Mae Jam (แม่แจ่ม), Chiang Mai by ArmyBoyCG


The Long and Winding Road, Mae Jam (แม่แจ่ม), Chiang Mai by ArmyboyCG


Street of Chiang Mai, by Thawat





Walking Street (ถนนคนเดิน) every Saturday, Downtown Chiang Mai by Thawat


Ta Pae Gate, Downtown by Vevediary


Train to Chiang Mai by Vevediary

Saturday, January 1, 2011

Jazz Legend Billy Taylor died at age 89

ขอไว้อาลัยศิลปินแจ้สรุ่นเก๋าในดวงใจคนหนึ่ง Billy Taylor ซึ่งเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2553 ด้วยอายุ 89 ปี

ลุง Taylor เคยเล่นกับศิลปินดังๆ อย่าง Duke Ellington, Charlie Parker, Wynton Marsalis, หรือ Miles Davis  ล่าสุดเขามีตำแหน่งผู้กำกับศิลป์ของศูนย์สังคีต John F. Kennedy ในวอชิงตันดีซี กว่า 16 ปี

เพลง I wish I knew how it would feel to be free ที่ Taylor แต่งในปี 1954 และ Nina Simone นำมาร้องในอัลบั้ม Silk and Soul ของเธอ เป็นเพลงที่โด่งดัง และมีบทบาทสำคัญในการต่อต้านเรื่องการเหยียดผิวในอเมริกาในช่วงปี 1950s- 1960s

สามารถตามไปฟังสถานีวิทยุแจ้สที่ชื่อ Billy Taylor Radio ที่มีเล่นเพลงแจ้สรุ่นใหม่เพราะมากๆได้ตรงนี้ BILLY TAYLOR RADIO


แต่คนอาจจะรู้จักเวอร์ชั่นของ Lighthouse Family ที่เอามาร้องใหม่มากกว่า




Jazz legend Billy Taylor passed away after suffering a heart attack this past Tuesday, December 28, 2010, at the age of 89.

Taylor most recently served as the Artistic Director for jazz at the John F. Kennedy Center for the Performing Arts.  He filled that role for 16 years; he also had a longstanding career with NPR where he hosted several radio broadcasts including Jazz Alive! and Billy Taylor’s Jazz at the Kennedy Center.

Taylor had a career that spanned nearly 70 years. He collaborated with almost every significant performer in jazz, from Duke Ellington and Charlie Parker to Wynton Marsalis, but he had an even rarer gift for explaining his music and drawing people to it.

Among his most notable works is "I Wish I Knew How It Would Feel to Be Free", composed in 1954, and subsequently achieving more popularity with Civil Rights Movement of the 1950s and 1960s. Nina Simone covered the song in her 1967 album "Silk and Soul".  Lighthouse Family also sang this song in 2001 in their album "Whatever Gets You Through The Day".

LISTEN TO BILLY TAYLOR RADIO